บล็อกเกี่ยวกับสมุนไพรรักษาโรคและใช้ทางการเกษตรครับ

สุนันทโจ

20.7.53

ประวัติ และ ที่มาของ พระคัมภีร์สรรพคุณ

      ในปัจุบันนี้กิการด้านสมุนไพร กำลังได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย อาจเนื่องมาจากการตื่นตัวของต่างประเทศที่หันมาใช้กรรมวิธีรักษาโรคแบบดั้งเดิมมากขึ้น ภูมิรู้ด้านหมอไทยยาไทยของเรา ที่ถูกทอดทิ้งมานานร่วมร้อยปี กำลังเป็นที่หอมหวลของผู้คนมากหน้าหลายตา แต่เรายังขาดตำรับตำราที่จะมาศึกษาอีกมาก ถึงแม้นจะดูผิวเผินเห็นว่า เรื่องของยาไทยหมอไทย ไม่มีอะไรลึกซึ้งมากมาย แต่ความจริงแล้ว ภูมิรู้หลากหลายเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์มนุษย์มีสอดแทรกอยู่ในทุกอนูของหมอไทยยาไทย

      ในการศึกษาเรื่องหมอไทยยาไทย ที่สำคัญจะขาดเสียมิได้คือ สรรพคุณสมุนไพร แต่การที่จะจดจำสรรพคุณสมุนไพรทุกทุกส่วนในแต่ละตัวเป็นเรื่องยาก ดังนั้น จึงนิยมศึกษาเฉพาะสรรพคุณของส่วนที่นิยมใช้ทำยาสมุนไพรเป็นหลักไว้แต่ก็มิได้หมายความว่า ส่วนอื่นๆที่ไม่นิยมใช้ทำยาจะไม่มีสรรพคุณในการรักษาโรค ทุกส่วนของสมุนไพรย่อมสามารถนำมาใช้เป็นยาได้ทั้งสิ้น

พระคัมภีร์สรรพคุณ  คือ ตำราที่ว่าด้วยสรรพคุณของสมุนไพรที่มีคุณค่าทางยาหรือเภสัช โดยกล่าวว่า การจะรักษาโรคอย่างไรขึ้นอยู่กับรสของสมุนไพรนั้นๆ เพราะสมุนไพรแต่ละรสจะมีสรรพคุณยาต่างกัน ดังนั้นพระคัมภีร์สรรพคุณยาจึงแยกแยะรายละเอียดของคุณค่าสมุนไพรแต่ละชนิดขณะยังสดหรือเมื่อแห้งแล้ว คือแบ่งเป็น ราก ต้น ใบ ดอก แก่น กระพี้ ยาง และผล ดังนั้นจึงเหมาะแก่การศึกษาค้นคว้าต่อไปว่า สมุนไพรแต่ละชนิดมีคุณค่าดังที่บันทึกไว้หรือไม่ ส่วนมหาพิกัต  หมายถึง การกำหนดน้ำหนักในการใช้สมุนไพรเป็นยา ซึ่งในแต่ละคนหรือแต่ละวัยจะใช้พิกัดน้ำหนักแตกต่างกัน




พระคัมภีร์สรรพคุณ ได้อ้างคัมภีร์อื่นๆ ได้แก่ คัมภีร์ปรารพภ์ธาตุบรรจบ และคัมภีร์จลนะสังคะหะ ด้วย เชื่อว่ามีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาโดยปรากฏหลักฐานอยู่ใน "ตำราพระโอสถพระนารายณ์" ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นตำรับยาที่นายแพทย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้ทูลเกล้าฯ ถวายแด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช "ตำราพระโอสถพระนารายณ์" กล่าวถึงความสำคัญของสมุนไพร และกล่าวว่าผู้ที่จะมีอาชีพเป็นหมอจะต้อง "รู้จักสรรพคุณยา"



จากหลักฐานดังกล่าว จึงอาจเป็นได้ว่า พระคัมภีร์สรรพคุณ น่าจะเป็นที่รู้จักกันดีในวงการแพทย์แผนไทยแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา และมาปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือ ในศิลาจารึกตำรายาที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ซึ่งมีเนื้อหาว่าด้วยสรรพคุณยาและรายละเอียดของพืชสมุนไพรนับร้อยชนิด



วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ได้รับการสถาปนาครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อได้สถาปนากรุงเทพมหานครเป็นนครหลวงใน พ.ศ.๒๓๒๕ แล้ว พระองค์โปรดให้จารึก "ตำรายา" และหล่อรูปฤาษีดัดตนไว้ตามศาลาราย ต่อมาใน พ.ศ.๒๓๗๕ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามขึ้นใหม่ แล้วโปรดให้พระยาบำเรอราชแพทย์ (พระโอรสของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) เป็นหัวหน้ารวบรวมตำรายาจากหมอหลวง หมอเชลยศักดิ์ (หมอราษฎร์) และหมอพระ โดยระบุว่าผู้นำตำรายามามอบให้จะต้องสาบานว่า ตัวยาขนานนั้นๆ ตนใช้มาก่อนและใช้ได้ผลจริงๆ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น