บล็อกเกี่ยวกับสมุนไพรรักษาโรคและใช้ทางการเกษตรครับ

สุนันทโจ

29.7.53

มหาพิกัต

บัดนี้จะกล่าวด้วยมหาพิกัตต่อไป




อธิบายว่ากายแห่งบุคคลทั้งหลายนี้ เปนที่ตั้งแห่งกองสมุฏฐาน สมุฏฐานเปนที่ตั้งแห่งกองธาตุ ธาตุเปนที่ตั้งแห่งกองโรค โรคเปนที่ตั้งแห่งอาหารดังนี้ ถ้าจะแก้ให้แก้ในกองสมุฏฐานเปนอาทิ ด้วยอรรถว่าสมุฏฐานนี้เปนรากแก้วแห่งโรคทั้งหลาย ท่านจึงแยกเบญจกูลนั้นออกแล ๓ แล ๓ เอา พริกไทยแซกเข้า ๑ เปน ๖ เหตุว่าพริกไทยนั้นแก้ในกองลม สรรพคุณสิ่งอื่นที่จะแก้ลมยิ่งกว่านั้นหามิได้ พระอาจารย์เจ้าจึงประกอบเข้าไว้ในเบญจกูล จึงได้นามบัญญัติดังนี้



๑ คือพริกไทย ๑ ขิงแห้ง ๑ ดีปลี ๑ ทั้ง ๓ นี้ คือ ตรีกฏุกในพิกัต วสันตฤดู



๒ อนึ่งคือเจตมูลเพลิง ๑ สะค้าน ๑ ช้าพลู ๑ ทั้ง ๓ นี้ คือตรีสารในพิกัตเหมันตฤดู



๓ อนึ่งคือสมอไทย ๑ สมอพิเภก ๑ มะขามป้อม ๑ ทั้ง ๓ นี้ คือตรีผลาในพิกัตคิมหันตฤดู อันนี้ท่านสงเคราะห์ แก้ในกองสมุฏฐานโรคฤดูทั้ง ๓ ดังนี้



๑ อนึ่งคือสมอพิเภก ๑ ขิงแห้ง ๑ เจตมูลเพลิง ๑ ทั้ง ๓ นี้แก้ในกองปิตตะสมุฏฐานพิกัต



๒ อนึ่งคือสมอไทย ๑ พริกไทย ๑ สะค้าน ๑ ทั้ง ๓ สี้แก้ในกองวาตะสมุฏฐานพิกัต



๓ อนึ่งคือมะขามป้อม ๑ ช้าพลู ๑ ดีปลี ๑ ทั้ง ๓ นี้ แก้ในกองเสมหะสมุฏฐานพิกัต ให้ประกอบตามส่วน โดยนัยจะมีไปข้างหน้านั้น



อนึ่งท่านจึงจัดสรรพยาในกองสมุฏฐานกล่าวคือ ตรีผลา ตรีกฏุก ตรีสารทั้ง ๓ นี้ มาระคนกันเข้าไว้จะให้แจ้งในพิกัต



คือบทว่าเบญจกูลนั้น คือขิงแห้ง ๑ ดีปลี ๑ เจตมูลเพลิง ๑ สะค้าน ๑ ช้าพลู ๑ อันนี้ชื่อว่าเบญจกูล แก้ในกองธาตุ แก้ในกองฤดูสมุฏฐาน ด้วยอรรถว่าสมุฏฐานธาตุ ฤดูเนื่องถึงกันที่จะได้ขาดจากกันนั้นหามิได้ เปนที่อาไศยซึ่งกันแลกัน จึงให้ประกอบเบญจกูลขึ้นตามพิกัต กำเริบ , หย่อน , แลพิการ นั้น แก้ดังนี้จึงจะควร



๑ ถ้าเตโชธาตุกำเริบ เอาสะค้าน ๑ ดีปลี ๒ ช้าพลู ๓ ขิงแห้ง๔ เจตมูล ๘ สมอพิเภก ๑๖ ประจำ สมุฏฐานอัคนีกำเริบ



๒ อนึ่งถ้าเตโชหย่อน เอาดีปลี ๑ ช้าพลู ๒ สะค้าน ๓ สมอพิเภก ๔ ขิงแห้ง ๘ เจตมูล ๑๖ ประจำสมุฏฐานอัคนีหย่อน



๓ ถ้าเตโชพิการ เอาช้าพลู ๑ สะค้าน ๒ ดีปลี ๓ เจตมูล ๔ สมอพิเภก ๘ ขิงแห้ง ๑๖ ประจำสมุฏฐานอัคนพิการ



๔ ถ้าวาโยกำเริบ เอาช้าพลู ๑ เจตมูล ๒ ดีปลี ๓ พริกไทย ๔ สะค้าน ๘ สมอไทย ๑๖ ขิงแห้ง ระคนประจำวาตะ สมุฏฐานกำเริบ



๕ ถ้าวาโยหย่อน เอาเจตมูล ๑ ดีปลี ๒ ช้าพลู ๓ สมอไทย ๔ พริกไทย ๘ สะค้าน ๑๖ ขิงแห้งระคนประจำวาตะสมุฏฐานหย่อน



๖ อนึ่งถ้าวาโยพิการ เอาดีปลี ๑ ช้าพลู ๒ เจตมูล ๓ สะค้าน ๔ สมอไทย ๘ พริกไทย ๑๖ ขิงแห้ง ระคนประจำวาตะสมุฏฐานพิการ



๗ ถ้าอาโปสมุฏฐานกำเริบ เอาขิงแห้ง ๑ สะค้าน ๒ เจตมูล ๓ ดีปลี ๔ ช้าพลู ๘ มะขามป้อม ๑๖ พริกไทย ระคนประจำอาโปสมุฏฐานกำเริบ



๘ ถ้าอาโปหย่อน เอาสะค้าน ๑ เจตมูลเพลิง ๒ ขิงแห้ง ๓ มะขามป้อม ๔ ดีปลี ๘ ช้าพลู ๑๖ พริกไทยระคนประจำอาโปสมุฏฐานหย่อน



๙ อนึ่งถ้าอาโปพิการ เอาเจตมูล ๑ ขิงแห้ง ๒ สะค้าน ๓ ช้าพลู ๔ มะขามป้อม ๘ ดีปลี ๑๖ พริกไทย ระคนประจำอาโปสมุฏฐานพิการ



๑๐ ถ้าปถวีธาตุกำเริบ เอาพริกไทย ๑ ขิงแห้ง ๒ เจตมูล ๓ สะค้าน ๔ ดีปลี ๘ ช้าพลู ๑๖ ตรีผลาระคน ประจำปถวีสมุฏฐานกำเริบ



๑๑ อนึ่งถ้าปถวีธาตุหย่อน เอาขิงแห้ง ๑ เจตมูล ๒ พริกไทย ๓ ช้าพลู ๔ สะค้าน ๘ ดีปลี ๑๖ ตรีผลาระคนประจำปถวีสมุฏฐานหย่อน



๑๒ ถ้าปถวีพิการ เอาเจตมูล ๑ พริกไทย ๒ ขิงแห้ง ๓ ดีปลี ๔ ช้าพลู ๘ สะค้าน ๑๖ ตรีผลาระคนประจำปถวีสมุฏฐานพิการ



อันว่ากองปถวีธาตุสมุฏฐานนี้ สงเคราะห์มาแต่มหาภูตะรูป ซึ่งมีอยู่ในพระคัมภีร์อันปรารพภ์ธาตุบรรจบ ว่าด้วยสุริยพิกัตราศี เปนฤดูเดือนต่อกันจัดเปน ๔ ฤดู ฤดูหนึ่ง ๓ เดือน โดยลำดับธาตุทั้ง ๔ นั้น มาสาธกไว้ ในที่นี้จะให้แพทย์พึงรู้ในกองสมุฏฐานโดยง่าย ด้วยในที่นี้ท่านแจ้งไว้ใน มหาพิกัตสมุฏฐานแล ๓ ๆ คือ เตโช, วาโย, อาโป, สมุฏฐาน แต่ปถวีสมุฏฐานนี้จัดเปนชาติจะละนะ จะได้มีในมหาพิกัตนี้หามิได้ ให้แพทย์พึงรู้โดยไนยดังนี้



ถ้าจะทำเปนอภิญญาณเบญจกูล เอาเจตมูลทั้งใบทั้งดอกทั้งรากสิ่งละ ๔ สะค้านทั้งใบทั้งดอกทั้งรากสิ่งละ ๖ ขิงแห้งทั้งใบทั้งดอกทั้งเหง้าสิ่งละ ๑๐ ช้าพลูทั้งใบทั้งดอกทั้งรากสิ่งละ ๑๒ ดีปลีทั้งใบทั้งดอกทั้งรากสิ่งละ ๒๐ อันนี้แก้ในกองธาตุอภิญญาณ



ถ้าจะทำเปนเทศเบญจกูล เอาขิงแห้ง ๑ เจตมูล ๑ สะค้าน ๑ ช้าพลู ๑ ดีปลี ๑ สิ่งละ ๑๐ ส่วน พิกัตอันนี้ประจำธาตุเนาวทวารอันมีอยู่ในพระคัมภีร์ปรารพภ์ธาตุบรรจบ ท่านสงเคราะห์เอาทวารสตรี ๑ มาประสมเข้าเปน ๑๐ จึงได้ชื่อว่าทศเบญจกูล



ถ้าจะทำมหาพิกัตเบญจกูล เอาเจตมูล ๔ สะค้าน ๖ ขิงแห้ง ๑๐ ช้าพลู ๑๒ ดีปลี ๒๐ อันนี้พิกัตไว้ตามกำลังธาตุแก้เปนสาธารณะทั่วไปในกองธาตุสมุฏฐานทั้งปวงมิได้เว้น จึงได้เรียกว่าพิกัตเบญจกูล ดังนี้



๑ ถ้าจะทำเปนโสฬศเบญจกูล เอาขิงแห้ง ๒ เจตมูล ๔ สะค้าน ๖ ช้าพลู ๘ ดีปลี ๑๖



๒ อนึ่งเอาเจตมูล ๒ สะค้าน ๔ ช้าพลู ๖ ดีปลี ๘ ขิงแห้ง ๑๖



๓ อนึ่งเอาสะค้าน ๒ ช้าพลู ๔ ดีปลี ๖ ขิงแห้ง ๘ เจตมูล ๑๖



๔ อนึ่งช้าพลู ๒ ดีปลี ๔ ขิงแห้ง ๖ เจตมูล ๘ สะค้าน ๑๖



๕ อนึ่งดีปลี ๒ ขิงแห้ง ๔ เจตมูล ๖ สะค้าน ๘ ช้าพลู ๑๖ ทั้ง ๕ ฐานนี้ได้ชื่อว่าโสฬศเบญจกูล ด้วยอรรถว่าบวกกันเข้าละสิ่งๆได้สิ่งละ ๓๖ ส่วน โดยนัยส่วนพิกัตแก้ในกองวาโยสมุฏฐาน ด้วยเหตุว่าท่านสงเคราะห์เอาสิ่งละ ๓๖ ส่วน สรรพยานั้นขึ้นตามในพิกัตซึ่งอายุคือ ๑๖ นั้น เปนอาทิ คือ ๓๖ เปนที่สุด ดุจกล่าวแล้วแต่หลังให้แพทย์พึงกระทำโดยนัยสิ่งละ ๓๖ ส่วน ทั้ง ๕ ฐานนั้นหามิได้ ให้พิจารณาดูว่าโรคนั้นจะตกเข้าอยู่ในระหว่างธาตุสมุฏฐาน ฤดูสมุฏฐาน อายุสมุฏฐานอันใด แลจะแก้ด้วยโสฬศเบญจกูลนั้นด้วย ๑๖ อันใดก็ให้พึงกระทำขึ้นตามในโสฬศอันนั้น โดยส่วนท่านพิกัตไว้จึงจะควร



๑ อนึ่งถ้าจะทำเปนทศเบญจขันธ์ เอาขิงแห้ง ๑ ช้าพลู ๒ สะค้าน ๓ เจตมูล ๔ ดีปลี ๕



๒ อนึ่งเอาช้าพลู ๑ สะค้าน ๒ เจตมูล ๓ ดีปลี ๔ ขิงแห้ง ๕



๓ อนึ่งเอาสะค้าน ๑ เจตมูล ๒ ดีปลี ๓ ขิงแห้ง ๔ ช้าพลู ๕



๔ อนึ่งเอาเจตมูล ๑ ดีปลี ๒ ขิงแห้ง ๓ ช้าพลู ๔ สะค้าน ๕



๕ อนึ่งเอา ดีปลี ๑ ขิงแห้ง ๒ ช้าพลู ๓ สะค้าน ๔ เจตมูล ๕ ทั้ง ๕ ถานนี้ได้ชื่อว่าทัศเบ็ญจขันธ์ ด้วยอรรถว่าบวกกันเข้าแต่ละสิ่งๆ ได้สิ่งละ ๑๕ ส่วนโดยพิกัตแก้ในกองอสุรินทัญญาณธาตุ จตุสมาสรรพ ตามในพิกัตท่านกล่าวไว้ดังนี้



ลำดับนี้จะได้แสดงในมหาพิกัต ตรีผลา ตรีกฏุก สืบต่อไป



อันว่าตรีผลานั้น ๑ ถ้าจะแก้เสมหสมุฏฐาน เอาสมออัพยา ๔ สมอพิเภก ๘ มะขามป้อม ๑๒



๒ ถ้าจะแก้ปิตตสมุฏฐาน เอามะขามป้อม ๔ สมออัพยา ๘ สมอพิเภก ๑๒



๓ ถ้าจะแก้วาตสมุฏฐานเอาสมอพิเภก ๔ มะขามป้อม ๘ สมออัพยา ๑๒ ทั้ง ๓ นี้ชื่อว่าพิกัตตรีผลาสมุฏฐาน



๑ อนึ่งว่าอันตรีกฏุกนั้น ถ้าจะแก้เสมหสมุฏฐาน เอาพริกไทย ๔ ขิงแห้ง ๘ ดีปลี ๑๒



๒ ถ้าจะแก้ปิตตสมุฏฐาน เอาดีปลี ๔ พริกไทย ๘ ขิงแห้ง ๑๒



๓ ถ้าจะแก้วาตสมุฏฐาน เอาขิงแห้ง ๔ ดีปลี ๘ พริกไทย ๑๒ ทั้ง ๓ นี้ได้ชื่อว่าพิกัตตรีกฏุกสมุฏฐาน



อันว่าตรีผลา ตรีกฏุก ทั้ง ๒ นี้ จะได้แต่จำเพาะสมุฏฐานอันใดหามิได้ เปนสาธารณะทั่วไปในกองสมุฏฐานทั้งปวงให้แพทย์พึงพิจารณาเห็นควรแก่กันแล้ว ก็ให้พึงประกอบขึ้นตามซึ่งท่านตราไว้

อนึ่งอันว่าลักษณะสมุฏฐานนั้นจะได้พ้นจาก ๓ ออกไปหามิได้ แต่ยังมิได้สำเร็จด้วยเถียงอยู่ในกองธาตุปถวีสมุฏฐานหนึ่งด้วยเกิน ๓ เข้ามาเปน ๔ ดุจกล่าวมานั้นแล้ว เหตุว่าจะได้แจ้งลงไว้ในที่นี้หามิได้ คือ หทัย, อุธทริย , กรีส , จัดเปน ปถวีสมุฏฐานสงเคราะห์เอาชาติจะละนะ ถ้าจะประกอบตรีผลาตรีกฏุกก็ดี แก้ในกองปถวีสมุฏฐานนั้น ในพระคัมภีร์นี้ท่าน ให้ประกอบโดยในส่วนเสมอภาค ด้วยปถวีเปนที่ตั้งแห่งภูมิสมุฏฐานทั้งปวง ดุจในพระคัมภีร์จะละนะสังคะหะกล่าวไว้ ให้แพทย์พึงรู้โดยไนยดังนี้

ไนยหนึ่งอันว่าลักษณะพิกัตส่วนสรรพยานั้น ท่านพิกัตลงไว้ ๓ ฐานคือส่วน ๑ บาทฐานหนึ่ง ส่วน ๑ สลึงฐานหนึ่ง ส่วน ๑ เฟื้องฐานหนึ่ง แลพึงกำหนดเอาโดยกำลังส่วนว่าจะควรแก่กันส่วนใดให้เอาส่วนนั้นตั้งเปนอาทิ จึงลดทวีกันไปตามในมหาพิกัตนั้น



อนึ่งอันว่าโรคอันใดก็ดี บังเกิดขึ้นในสมุฏฐานอันใดก็ดีแล สรรพยาที่จะแก้นั้นขนาดใดๆก็ดี ในท้องตรานั้นมีแต่ตรีผลาหรือตรีกฏุกก็ดี แลมีทั้งตรีผลาตรีกฏุกทั้ง ๒ นี้ก็ดี ให้พิจารณาในกองสมุฏฐานแลกองโรคว่าจะควรกับตรีอันใด ก็ให้เอาตรีนั้นมากระทำโดยส่วนพิกัตประสมเข้า ถ้ามีแต่ตรีกฏุก ตรีผลาหามิได้แต่กองโรคแลสมุฏฐานควรแก่ตรีผลา ก็ให้เอาตรีผลามากระทำขึ้นให้เต็มส่วนพิกัตเพิ่มเข้า ลดตรีกฏุกในท้องตำราลงตามส่วนพิกัต



ถ้ากองโรคแลสมุฏฐานควรแก่ตรีกฏุก ก็ให้เอาตรีกฏุกในท้องตำรานั้นกระทำขึ้นให้เต็มส่วนพิกัต ตรีผลาที่มิได้มีในท้องตำรานั้น ควรเติมจึงเติมโดยพิกัต ถ้ามิควรเติมอย่าเติมเข้าเลย แต่อย่าให้เสียสมุฏฐานเปนอาทิ ถ้าท้องตำรานั้นมีทั้งตรีผลา ตรีกฏุก แต่กองโรคแลสมุฏฐานควรแก่ตรีอันใดก็ดี พิจารณาแล้วกระทำทวีขึ้นแลลดลงโดยส่วนพิกัตดุจกล่าวแล้วแต่หลัง



อนึ่งอันว่าสรรพยาสิ่งใดก็ดี ที่ท่านตราไว้ในท้องตำรานั้น ยาขนานใดๆก็ดี แลจะเอามาแก้กองโรคแลสมุฏฐานนั้นจะได้มีใน มหาพิกัตนี้หามิได้ พึงให้แพทย์ประกอบขึ้นตามที่ท่านตราลงไว้นั้น แต่อย่าเสียสรรพคุณแลส่วน ๑ บาท เปนต้น ส่วน ๑ เฟื้องเปนที่สุด ควรจะลดจึงลดควรจะทวีจึงทวี ควรจะขาดจึงให้ขาด ควรจะเหลือจึงให้เหลือ สุดแต่โรคแลสรรพคุณเปนอาทิ แต่อย่าเสียสมุฏฐาน คือตรีผลา ตรีกฏุก พึงให้ประกอบในพิกัต อันควรกับสมุฏฐานโรคนั้นเจือเข้า ดุจนัยอันกล่าวไว้ดังนี้



อนึ่งอันว่าตรีผลา ตรีกฏุก เบญจกูลก็ดี ถ้ากระทำวิธีต้มประกอบให้เต็มส่วน ๑ บาท ถ้าจะกระทำวิธีทำผงให้ประกอบส่วน ๑ สลึง ถ้าจะกระทำวิธีแซก ประกอบให้เต็มส่วน ๑ เฟื้อง ถ้าจะกระทำวิธีลด ให้ลดลงกึ่งส่วนแซกจึงควร



๑ ไนยหนึ่งถ้าจะแก้ในคิมหันตสมุฏฐาน เอาตรีผลาเต็มส่วนพิกัต ตรีสาร ๔ ส่วน ตรีผลาส่วน ๑ ตรีกฏุกกึ่งส่วน ตรีสารตามพิกัต



๒ ถ้าจะแก้ในวสันตสมุฏฐาน เอาตรีกฏุกเต็มส่วนพิกัต ตรีผลา ๔ ส่วน ตรีกฏุกส่วน ๑ ตรีสารกึ่งส่วน ตรีกฏูกตามพิกัต



๓ ถ้าจะแก้ในเหมันตสมุฏฐาน เอาตรีสารเต็มส่วนพิกัต ตรีกฏุก ๔ ส่วน ตรีสารส่วน ๑ ตรีผลากึ่งส่วน ตรีสารตามมหาพิกัตท่านตราไว้



อนึ่งจะกล่าวถึงพิกัตโกฐแลเทียนสืบต่อไปดังนี้ ถ้าโกฐทั้ง ๕ คือโกฐสอ ๑ โกฏเขมา ๑ โกฐบัว ๑ โกฐเชียง ๑ โกฐจุฬาลำพา ๑ อันนี้พิกัตเบญจโกฐ



อนึ่งถ้าโกฐทั้ง ๗ คือโกฐสอ ๑ โกฐเขมา ๑ โกฐบัว ๑ โกฐเชียง ๑ โกฐจุฬาลำพา ๑ โกฐกระดูก ๑ โกฐก้านพร้าว ๑ อันนี้พิกัตสัตตโกฐ



อนึ่งถ้าโกฐทั้ง ๙ คือโกฐสอ ๑ โกฐเขมา ๑ โกฐบัว ๑ โกฐเชียง ๑ โกฐจุฬาลำพา ๑ โกฐกระดูก ๑ โกฐก้านพร้าว ๑ โกฐพุงปลา ๑ โกฐชฎามังสี ๑ อันนี้พิกัตเนาวโกฐ



อันว่านอกกว่านี้ คือโกฐกักกรา ๑ โกฐกะกลิ้ง ๑ โกฐน้ำเต้า ๑ ทั้ง ๓ นี้เปนโกฐพิเศษ ให้แพทย์ดูแต่ควร จะแซกเข้าในยาขนานใดๆก็ได้ สุดแต่โรคกับสรรพคุณจะบอกนั้น



อนึ่งถ้าเทียนทั้ง ๕ คือเทียนดำ ๑ เทียนแดง ๑ เทียนขาว ๑ เทียนเข้าเปลือก ๑ เทียนตาตั๊กแตน ๑ อันนี้พิกัตเบญจเทียน



อนึ่งถ้าเทียนทั้ง ๗ คือเทียนดำ ๑ เทียนแดง ๑ เทียนขาว ๑ เทียนเข้าเปลือก ๑ เทียนตาตั๊กแตน ๑ เทียนเยาวพาณี ๑ เทียนสัตตะบุษย์ ๑ อันนี้เปนพิกัตสัตตเทียน



อนึ่งเทียนทั้ง ๙ นั้น เทียนดำ ๑ เทียนแดง ๑ เทียนขาว ๑ เทียนเข้าเปลือก ๑ เทียนตั๊กแตน ๑ เทียนเยาวพาณี ๑ เทียนสัตตบุษย์ ๑ เทียนเกล็ดหอย ๑ เทียนตากบ ๑ อันนี้พิกัตเนาวเทียน



นอกกว่านี้ คือเทียนลวด ๑ เทียนขม ๑ เทียนแกลบ ๑ ทั้ง ๓ นี้ เปนวิเศษให้ดูแต่ควร จะเจือแซกเข้าในยาขนานใดๆก็ดีสุดแต่โรคตามสมควร



อนึ่งจะกล่าวด้วยพิกัตบัว บัวน้ำทั้ง ๕ คือ สัตตบุษย์ ๑ สัตตบรรณ ๑ ลินจง ๑ จงกลนี ๑ นิลุบล ๑ อันนี้พิกัตเบญจอุบล



นอกกว่านี้ คือบัวหลวงทั้ง ๒ สัตตบงกชทั้ง ๒ บัวเผื่อน ๑ บัวขม ๑ ทั้ง ๖ นี้เปนบัววิเศษ จะประกอบเข้าในยาขนานใดก็ดีดูแต่ควรกับโรคโดยสรรพคุณกล่าวไว้



อนึ่งจะกล่าวด้วยพิกัตเกลือ ถ้าเกลือทั้ง ๕ คือ เกลือสินเธาว์ ๑ เกลือพิก ๑ เกลือวิก ๑ เกลือฝ่อ ๑ เกลือสมุทรี ๑ อันนี้พิกัตเบญจเกลือ นอกกว่านี้ คือเกลือสุนจระ ๑ เกลือเยาวกาษา ๑ เกลือวิธู ๑ เกลือด่างคลี ๑ เกลือสุวษา ๑ เกลือกะตัง ๑ เกลือสมุท ๑ ทั้ง ๗ นี้เปนเกลือพิเศษ ถ้าจะประกอบเข้าในยาขนานใดๆก็ดี ดูแต่ควรกับโรคตามสรรพคุณสำแดงไว้



อนึ่งจะกล่าวในพิกัตโหรา ถ้าโหราทั้ง ๕ คือโหราอำมฤก ๑ โหรามิคสิงคลี ๑ โหราบอน ๑ โหราเท้าสุนัข ๑ โหราเดือยไก่ ๑ อันนี้พิกัตเบญจโหรา นอกกว่านี้ คือ โหราผักกูด โหราเข้าเหนียว โหราเขากระบือ โหราเขาเนื้อ โหราใบกลม มโหรา มหุรา มังโหรา ทั้ง ๘ นี้เปนโหราพิเศษจะประกอบในยาขนานใดๆก็ดี ให้แพทย์พึงพิจารณาสุดแต่ควรกับโรคนั้นเถิด

24.7.53

คัมภีร์สรรพคุณบำรุงธาตุทั้ง ๕

ในคัมภีร์สรรพคุณบำรุงธาตุทั้ง ๕ อาจารย์ท่านแสดงไว้ ดังนี้ พริกล่อน ขิง ดีปลี เสมอกันทำผงละลายน้ำขิงกิน แก้ลมอุทธังคมาวาตา เผาผลาญลมแลโลหิตให้เสื่อมฤทธิ์แล




๑ เทียนทั้ง ๕ กับสมอ ๑๒ เหลี่ยมนั้น ทำผงละลายน้ำผึ้ง น้ำส้มส้าน้ำร้อนก็ได้ แก้โลหิต แก้ลมอุทธังคมาวาตา แก้ดีเดือดดีพลุ่งหายแล



๒ สมอเทศผลกลมนั้น เอาตรีกฏุก สีเสียดทั้ง ๒ จันทน์ทั้ง ๒ ยา ๘ สิ่งนี้ทำผงละลายน้ำผึ้ง กินแก้ปถวีธาตุพิการ กระทำให้ลงท้องหายแล



๓ สมอพิเภก แก้อาโปธาตุกำเริบ แก้โลหิตเสมหะเอาตรีสาร ทั้ง ๓ นี้ประสมรวมเปนยา ๔ สิ่ง ทำผงละลายน้ำผึ้ง, น้ำร้อน, น้ำนมโค, กินแก้อาโปธาตุกำเริบหายแล



๔ หญิงชายก็ดีอาโปธาตุกำเริบ ภายในบังเกิดโรคเปนต่างๆกัน เอามะขามป้อม, จันทน์ทั้ง ๒ ตรีกฏุก ทำผงละลายน้ำผึ้ง, น้ำร้อน, น้ำอ้อย, น้ำตาล, กินแก้อาโปธาตุกำเริบหายแล



๕ ขิง แก้อากาศธาตุกำเริบแลไข้ต่างๆ ให้วิงเวียนให้ท้องขึ้นแลหาวเรอเปนเพื่อลมอัมพาต เอาเปลือกตีนเป็ด, พริกล่อน, เทียนดำ, ขิงเท่ายาทั้งหลาย ทำผงละลายน้ำผึ้งน้ำอ้อยน้ำส้มพอูมกิน



๖ ดีปลี, รากเจตมูลเพลิง, สะค้าน, ช้าพลู, ขิง, แก้ปถวีธาตุ อาโปธาตุ วาโยธาตุ เตโชธาตุ อากาศธาตุ ชื่อว่าเบญจกูล แก้ธาตุทั้ง ๕ แล



๗ เจตมูลหนาม แก้ธาตุทั้ง ๔ มีปรกติให้เบื่ออาหาร เพื่อเสมหะสมุฏฐานซ่าน ให้เอาตะไคร้, หอม, รากช้าพลู, พริกไทย, ขิง, ผลกระวาน เทียนแดง, เท่ากัน เจตมูลหนามเท่ายาทั้งหลาย ทำผงละลายน้ำผึ้ง, น้ำขิง, น้ำข่า, น้ำร้อน, น้ำส้มป่อย, ต้มกิน



๘ คนทีเขมา แก้ลม ๑๒ จำพวก ประสมด้วย ว่านน้ำ, ข่า, เปลือกกุ่มบกตำผงละลายน้ำขิงกิน



๙ คนทีสอ แก้อาโปธาตุกำเริบเพื่อโลหิต แลน้ำมันในข้อ ในกระดูก ประสมด้วยโกฐทั้ง ๕, ตรีกฏก, ผลจันทน์, ดอกจันทน์ล หัวหญ้าชันกาด, เอาเท่ากันทำผงละลายน้ำผึ้ง น้ำส้มส้าก็ได้ กินแก้อาโปธาตุกำเริบ



๑๐ ผลพิลังกาสา แก้ลม ๑๒ จำพวก คือลมอัมพาต, ลมอุทธังคมาวาต, ลมบาทยักษ์, ลมอัศวมุขี, ลมปัสสคาด, ลมสันตคาด, ลมชิวหาสดมภ์, ลมกระดานพัด, ลมอัมพฤกษ์, ลมอัณฑพฤก, ลมไชยพฤกษ์, ลมกัมมัชวาต ประสมด้วย หัวแห้วหมู, ใบสะเดา, ตรีกฏก, ว่านน้ำ, กระเทียม, สิ่งละเสมอภาค ผลพิลังกาสาเท่ายาทั้งหลายทำผงละลายน้ำขิง, น้ำข่า, น้ำส้มส่า, น้ำกระเทียมก็ได้ กินแก้ลม ๑๒ จำพวกหายแล



๑๑ ภาคหนึ่งผลพิลังกาสา แก้ไข้จับ หาเวลามิได้ ประสมด้วยตรีผลา ผลมูลกาทั้ง ๒ หญ้าตีนนก หญ้าแพรก รากเสนียด ต้มกิน



๑๒ ภาคหนึ่งผลพิลังกาสา แก้ปัถวีธาตุกำเริบ แก้ลมจับหัวใจให้คลุ้มคลั่ง ประสมด้วยตรีผลาจันทน์ทั้ง ๒ รากทนดี ดอกบุนนาคเสมอภาค ทำผงละลายน้ำขิงกิน



๑๓ แห้วหมู แก้ลม ๑๒ จำพวก เจริญธาตุ แก้ดี อันมิได้ปรกติให้คลั่งมะเมอเพ้อไปมิได้รู้รสอาหาร เอาโกฐทั้ง ๕, จันทน์ทั้ง ๒ กฤษณา, ขอนดอก, พริกไทยเสมอภาค แห้วหมูเท่ายา, ทำผงละลายน้ำดอกไม้ น้ำร้อน, น้ำส้มส้า, กินหายแล



๑๔ ขมิ้นอ้อย แก้ลมอุทธังคมาวาต ลมปัสสคาด แก้โลหิตแลเสมหะ แก้เจ็บทุกข้อทุกกระดูก ประสมด้วยตรีกฏุก, หอม, กระเทียมสด, รากอบเชย, ว่านน้ำ, ข่า, เสมอภาค, ขมิ้นอ้อยเท่ายาทำผงละลายน้ำท่า น้ำเปลือกมะรุม, น้ำกระเทียม กินหายแล



๑๕ ใบสะเดา แก้โลหิตพิการ ซึ่งทำพิษให้ร้อนให้แสบอกกลุ้มใจ เอาเทียนแดง, โกฐหัวบัว, ประสมกับใบสะเดาเท่ากัน ยา ๓ สิ่งนี้ทำผงละลายน้ำจันทน์ทั้ง ๒ น้ำดอกไม้, น้ำขิงสด, กินหายแล



๑๖ สรรพคุณกรรณิกา แก้ลมทั้งปวง เอาตรีกฏุก ใบสะเดา แห้วหมู ขมิ้นอ้อย ผลพิลังกาสา ประสมกับกรรณิกาทำผงดอง มูตร์โค ๓ วัน แล้วบดทำแท่งเสกด้วยสัก์กัต๎วา ๑๐๐ จบ กินแก้พิษทั้งหลายละลายสุรา แก้หญิงโลหิตตีขึ้น ละลายน้ำฝางแทรกเทียนดำแก้จุกอกปวดท้อง น้ำข่าแก้บิดปวดมวนดีนัก เอาสมอ, ดีปลี, เกลือ, ต้มละลายยากินชำระอุจจาระโทษ



๑๗ พริกไทย กระทำธาตุทั้ง ๔ ให้ตั้งมั่น แก้ลมปัสสคาด ลมชิวหาสดมภ์ เอาจิงจ้อหลวง, ผลบัวหลวง, ประสมกับพริกไทยเท่ากัน ทำผลละลายน้ำจันทน์ขาว, น้ำมะเดื่อ, เกลือสินเธาว์ กินแก้ท้องขึ้นแลปวดมวนหายแล



๑๘ พริกไทย แก้ลม แก้เสมหะอันบังเกิดขึ้นแต่ท้องน้อย ชื่อว่าลมอุทรวาต เอามหาหิงคุ์, ว่านน้ำ, กระเทียม, ตรีผลา, เสมอภาคพริกไทยเท่ายาทั้งหลาย ทำผงละลายน้ำข่า, น้ำกะทือ, น้ำจันทน์ขาวกินหายแล



๑๙ รงทอง แก้ลมอุทธังคมาวาต เอาตองแตก, รากสลอด โกฐทั้ง ๕ เท่ากัน พริก, ขิง, เท่ายาทั้งหลาย ทำผงละลายสุรากินแก้ลมเกลี่ยวดำ หายแล



๒๐ โมกหลวง มีคุณมากกับชายหญิงอันเปนไข้บานทะโรค มีโลหิตออกมา บางทีกลับกลายเปนน้ำหนอง บางทีเปนน้ำคาวปลา น้ำล้างเนื้อน้ำเหลือง บางทีเปนหัวยื่นย้อยออกมา บางทีเปนจุกผาม มิได้สำแดงออกมา บางทีเปนอย่างดอกแคแตรบานก็มี บางทีเปื่อยที่ทวารก็มี เอาเปลือกไม้แดง, ตรีกฏุก, พรรณผักกาด เทียนดำเสมอภาค โมกหลวงเท่ายาทั้งหลายทำผงละลายน้ำร้อนกิน



อนึ่ง เอาเทียนทั้ง ๕, ตรีผลา, ผลสลอดเท่ากันตำผง ละลายน้ำผึ้งกินชำระโทษอุจจาระธาตุเสียก่อนจึงกินยาต่อไป



๒๑ หญ้าเท้านก แก้ลม แก้โลหิต เสมหะเปนตรีโทษ กระทำให้ตัวร้อนสะท้านหนาว ให้เจ็บมีเวลา แลหาเวลามิได้ ให้ครั่นตัวปวดศีรษะตาพร่างพราย เอาโกฐทั้ง ๕ เทียนทั้ง ๕ จันทน์ทั้ง ๒ ขิงแห้งเสมอภาค หญ้าเท้านกเท่ายาทั้งหลาย ทำผงละลายน้ำร้อน น้ำส้มส้า น้ำขิง กินหายแล



๒๒ น้ำนมแพะ ให้มีกำลังแลแก้ไข้ เพราะธาตุทั้ง ๕ มิได้เสมอกัน จึงทำให้บังเกิดไข้หากำลังมิได้ ให้เอาพริก ๑ ขิง ๒ ดีปลี ๓ ผลเอ็น ๔ กระวาน ๕ ผลขุยไผ่ ๖ รากอบเชย ๗ ดอกบุนนาค ๘ ยาทั้งนี้ทำผงละลายน้ำนมแพะ น้ำนมโค น้ำดอกไม้ก็ได้ กินหายแล



๒๓ น้ำตาลกรวด น้ำตาลทราย ขัณฑสกร จันทน์ทั้ง ๒ ตรีผลาเหล่านี้ มีคุณเสมอกันแก้โรคหอบ เพราะโทษน้ำเหลืองแลเสมหะ เอาพริก ๑ ขิง ๒ ดีปลี ๓ ผลเอ็น ๔ กระวาน ๕ อบเชย ๖ ดอกบุนนาค ๗ ทำผงแทรกตรีผลา จันทน์ทั้ง ๒ น้ำตาลกรวด น้ำตาลทราย ขัณฑสกร ละลายน้ำนมโค น้ำนมแพะ น้ำดอกไม้ กินแก้โรคหอบเพื่อน้ำเหลืองแลแก้เสมหะหาย



๒๔ ผลมะตูมอ่อน แก้ไข้เพื่อลม ให้ปวดท้องปวดศีรษะ ให้อาเจียรผอมเหลือง เอาตรีกฏุก, คนทีสอ, คนทีเขมา, เปลือกเพกาเท่ากัน ผลมะตูมอ่อนเท่ายาทั้งหลาย ทำผงละลายน้ำนมทั้ง ๕ กินหายแล



๒๕ สะค้าน แก้ธาตุทั้ง ๔ อันยิ่งหย่อนมิได้เสมอกัน ถ้าไข้ลงท้องให้เบื่ออาหารกินมิได้มีรสอาหาร เอาพริก, ขิง, รากละหุ่งแดง, เทียนดำ, กะทือ, บอระเพ็ด, เท่ากัน สะค้านเท่ายาทั้งหลาย ทำผงละลายน้ำตรีผลากินเปนยารุธาตุแล



๒๖ ยางรักขาว แก้ลมริดสีดวงทั้งปวง เอาผลจันทน์, ดอกจันทน์, กานพลู, ผลเบญกานี, ดองดึง, สหัศคุณเทศ, รากเจตมูลเพลิง, รากไม้เท้ายายม่อม, รากแคแตร, เอาเท่ากันประสมกับยางรักขาวสุดแต่พอควร ทำผงละลายน้ำขิงกินแก้ริดสีดวง ๑๒ จำพวก



๒๗ ยางรักดำ แก้โลหิตพิการเนื้อหนังเปื่อยพังพุพอง เอาตรีกฏุก, รากกุ่มบก, รากมะรุม, ยาข้าวเย็น, ดอกบุนนาค, เสมอภาคประสมด้วยยางรักดำสุดแต่พอควร ยาทั้งนี้จะดองหรือต้มกินก็ได้หายแล



๒๘ หญ้าหนวดแมว แก้ลมอัณฑพาธ แก้โลหิตพิการ กระทำให้คันในเนื้อแลหนังพอขึ้นมีพิษต่างๆ เอาผลกระวาน, ตรีกฏุก, ใบกระวาน, เทียนดำ, เสมอภาค หญ้าหนวดแมว เท่ายาทั้งหลายทำผงละลายน้ำผึ้ง น้ำร้อนแลสุรากินหายแล



๒๙ หอมแดง แก้ลมอากาศธาตุ ให้ท้องขึ้นแลคันทั่วกายให้ตาพร่าง แลไฟธาตุกำเริบกระทำให้กินอาหารมากนัก เอาพริกไทย เกลือสินเธาว์ จันทน์ทั้ง ๒ เมล็ดในมะซางเท่ากัน หัวหอมแดงเท่ายาทั้งหลาย ทำผงละลายน้ำร้อนกินหายแล



๓๐ ผักชีละว้า แก้ไข้ให้เมื่อยทั่วสรรพางค์กาย ให้นอนมิหลับให้สอึกให้เรอ เอาใบกระวานผลกระวาน เทียนทั้ง ๕ เท่ากันผักชีละว้าเท่ายาทั้งหลาย ทำผงละลายน้ำผึ้ง, น้ำขิง, น้ำกระเทียม, คุลีการ กวนให้สุกละลายยากินหายแล



๓๑ เปลือกมะรุม แก้ลมอัมพาต ให้มือตายเท้าตายหูตึง ลิ้นกระด้างคางแข็ง เอาพริกหาง, ตรีกฏุก ว่านน้ำ, เถาคัน, ใบคัดมอนเสมอภาค เปลือกมะรุมเท่ายาทั้งหลาย ทำผงละลาย น้ำขิง, น้ำผึ้ง, น้ำไพล, น้ำส้มพอูน, กินหายแล



๓๒ รากมะรุม แก้วาโยธาตุกำเริบให้ฟกบวม ให้คลื่นเหียนให้ตัวเย็น เอาตรีกฏุก, ไพล, ข่า, โกฐทั้ง ๕, เสมอภาค รากมะรุมเท่ายาทั้งหลาย ทำผงละลายสุรา, น้ำส้มพอูม, น้ำส้มส้า, น้ำขิง, น้ำข่า, กินหายแล



๓๓ รากถั่วพู แก้โรคเปนเพื่อวาโยธาตุกำเริบ แก้ดีพลุ่งพล่าน กระทำให้ตาแดง ให้คลั่งเพ้อให้ปวดมวนท้อง เอาพริกไทย, จันทน์ทั้ง ๒ กฤษณาเสมอภาค รากถั่วพูเท่ายาทำผง เอาน้ำมะพร้าว น้ำกะทือ, น้ำอ้อย, คุลีการ ละลายกินหายแล



๓๔ แตงนก แก้ไข้เปนเพื่อลม ให้มึนตึงผื่นพรึงขึ้นทั้งตัวให้หูตึงกระทำให้จิตใจกระวนกระวายไม่เปนปรกติ เอาโกฐทั้ง ๕ กฤษณา, ดอกกรรณิกา, ดอกไม้แดง, ดอกกระถินพิมาน, เสมอภาค รากแตงนกเท่ายาทั้งหลาย ทำผงละลายน้ำผึ้ง, น้ำดอกไม้, น้ำส้มส้ากินหายแล



๓๕ พญายา แก้ไข้เพื่อโลหิตกำเริบ ให้คันทั้งตัว ให้บวมท้องไส้พองลั่นโครกครากในท้อง เอาหญ้าพันงูแดง, ไพล, รากตองแตกเสมอภาค พญายาเท่ายาทั้งหลาย ทำผงละลายน้ำร้อน, น้ำขิง, น้ำส้มพอูม, สุรา, กินหายแล



๓๖ อังกาบ แก้หญิงขัดระดูอยู่ไฟมิได้ เอาใบผักเป็ด ใบไผ่ป่า, ไพล, ข่า, ขิง, พริกไทย, เสมอภาค รากอังกาบเท่ายาทั้งหลาย ทำผงละลายน้ำสุรา, น้ำขิง, น้ำร้อน, น้ำมะนาว, กินหายแล



๓๗ ยอ แก้ลมกำเริบให้มวนท้อง ให้เท้าเย็นให้หาวเรอแลอาเจียร เอาเทียนดำ, ว่านน้ำ, ตรีกฏุก, มหาหิงคุ์, กระเทียม, เกลือสินเธาว์, เสมอภาค ทำผงละลายน้ำขิง น้ำมะนาว น้ำผลยอดต้มกินหายแล



๓๘ ดาวเรืองใหญ่ แก้หืดไอแลแก้ฝีต่างๆ แก้กลากเหล็ก แลพยาธิ์ทั้ง ๑๒ จำพวก แก้เรื้อนดอกหมาก เรื้อนดาวเรือง เรื้อนไฟ เรื้อนน้ำเต้า เรื้อนผิวมะกรูด เรื้อนงูเห่าแลมะเร็ง คุณมะเร็งชอน, กลาก, คชราชหูด, คชราชดอกบุก, มันชักให้เปนโทษผอมแห้ง ให้ตัวแตกระแหง เอาสารปากนก ๑ บาท กำมะถันเหลือง ๒ บาท ปรอดก็ได้ ชาดก้อนก็ได้ ๒ สลึงเฟื้อง กวนกับน้ำใบดาวเรืองใหญ่ ๓ วัน กวนกับใบคนทีสอ ๓ วัน แห้งแล้วปั้นแท่งเท่าผลฝ้าย ผึ่งแดดผึ่งน้ำค้างไว้ ๓ วัน แล้วเสกด้วยสัก์กัต๎วา ๑๐๘ คาบ ทั้ง ๗ วัน กินตามกำลังวัน ตั้งแต่วันอาทิตย์กินเมล็ด ๑ ขึ้นไปกว่าจะถึงวันเสาร์ ๗ เมล็ดหายแล



๓๙ กระเช้าผีมด แก้พุพองเพื่อลมแลเลือด เอาผลจันทน์ ๑ ขิง ๑ รากเสนียด ๑ เปลือกพิลังกาสาเสมอภาค กระเช้าผีมดเท่ายาทำผงละลายมูตรหายแล



๔๐ สมี แก้บุคคลเปนไข้เพื่อโมหะโทษะโลภะกล้า เกินประมาณจึงกระทำให้เปนไข้ เอาเทียนทั้ง ๕ จันทน์ทั้ง ๒ กานพลูเสมอภาคใบสมีเท่ายาทำผงละลายน้ำตาลทรายน้ำดอกไม้ น้ำส้มส้ากินหายแล



๔๑ ทองเครือ แก้ลมแลโลหิตระคนกัน ให้บังเกิดน้ำลายน้ำมูกมากเหงื่อมาก เอาจันทน์ทั้ง ๒ รากถั่วภูเสมอภาค ดอกทองเครือเท่ายา ทำผงละลายน้ำร้อนกินแลชะโลมด้วยน้ำดอกไม้หายแล



๔๒ โกฐจุฬาลำพา แก้ลมอันมิได้เสมอเปนปรกติ กระทำให้ร้อนให้เย็นแต่เปนเหงื่อไหลออกมา เอาขอนดอกขิงสดสิ่งละส่วน โกฐจุฬาลำพาสองส่วน ทำผงละลายน้ำดอกไม้น้ำจันทน์ขาว น้ำร้อนกินหายแล



๔๓ โกฐก้านพร้าว แก้โลหิตพิการ โลหิตดำบ้างเหลวบ้าง เ ปนฟองบ้าง ให้จับเชื่อมมัวให้เมื่อยทั่วสรรพางค์ เอาหญ้าชันกาด ขิงแห้ง, รากชุมเห็ดสิ่งละส่วน โกฐก้านพร้าว ๓ ส่วนต้มกินก็ได้ ทำผงก็ได้ละลายน้ำจันทน์ขาว, น้ำส้มส้า, น้ำร้อนกิน



อนึ่งรากมะพร้าวรากคนทีสอหัวบัวบก ต้มเอาน้ำละลายยากินหายแล



๔๔ โกฐพุงปลา แก้โลหิตพิการแลเสมหะพิการ ให้ท้องขึ้นให้จุกอกกินข้าวแลน้ำแค้น ในทรวงอก เปนเพื่อลมอังคมังคานุสารีวาต เอาหว้านน้ำ ๑ ไพล ๑ กระเทียม ๑ พริก ๑ เปลือกกุ่มบกเสมอภาค โกฐพุงปลาเท่ายาทั้งหลายทำผงละลายน้ำส้มส้า น้ำเกลือ กินหายแล



๔๕ โกฐสอ แก้ไข้ให้จับแลลมอัมพฤกษ์ ให้ร้อนเท้าให้ร้อนหลังให้แสบอกให้เจ็บหว่างสบัก เอาเบญจมูลเหล็ก, ตรีกฏุก, โคกกระสุนเสมอภาค โกฐสอเท่ายาทั้งหลาย ทำผงละลายน้ำขิงน้ำร้อนกิน ถ้าจะให้ทุเลาละลายน้ำดีเกลือกินหายแล



๔๖ โกฐกระดูก แก้ลมอัมพฤกษ์ กระทำให้คลื่นเหียนให้จุกเสียดให้หูตึงให้ตามืด เอาหว้านน้ำ ๑ ข่า ๑ เปลือก ตีนเป็ด ๑ เปลือกมะรุม ๑ ตรีกฏุกเสมอภาค โกฐกระดูก เท่ายาทั้งหลาย ทำผงละลายน้ำผึ้ง น้ำส้มส้า น้ำสุราก็ได้กินหายแล



๔๗ โกฐเชียงเทศ แก้ไข้เพื่อกำเดา ให้หนาวให้ร้อนให้ระส่ำระสาย ให้ท้องขึ้นกินอาหารมิได้เหงื่อตกให้หอบ เอาหว้านหางช้าง ๑ ตรีกฏุก ๑ ข่า ๑ กานพลูเสมอภาค โกฐเชียงเทศเท่ายาทั้งหลายทำผง น้ำส้มส้าทั้ง ๓ ระคนกันละลายกินหายแล



๔๘ โกฐกะกลิ้ง แก้ไข้เพื่อเสมหะพิการ ด้วยลมอุทธังคมาวาต แลกำเดากำเริบ ให้ปวดศีรษะมีน้ำมูกมากให้ตาแดง ให้ผูกพรรดึก เอาหว้านน้ำ ๑ ขิง ๑ ข่า ๑ ผลราชดัด ๑ ใบจิงจ้อ ๑ ใบสลอด ๑ ดีปลี ๑ ยาดำ ๑ มหาหิงคุ์ ๑ ประสมด้วยโกฐกะกลิ้งสิ่งละส่วนทำผง เอารากสะท้อน รากข่อยหยอง รากหญ้าเท้านก ต้ม ๓ เอา ๑ ละลายกินหายแล



๔๙ โกฐเขมา แก้ลมอุทธังคมาวาตเพื่อลมอันบังเกิดแต่กองอาโปธาตุ ให้มือให้เท้าสั่นให้เมื่อยขบทั่วตัว เอาเปลือกประคำไก่ ๑ เปลือกกุ่มบก ๑ กระเทียม ๑ กระชายเสมอภาค โกฐเขมาเท่ายาทั้งหลาย ทำผงแช่มูตรโคดำไว้ ๓ วัน แล้วผึ่งแดดไว้ให้แห้งละลายน้ำส้มส้ากินหายแล



๕๐ ผลจันทน์เทศ แก้วาโยธาตุกำเริบ ให้ปวดท้องเปนเสมหะมูกเลือด ให้ทุรนทุรายนอนมิหลับ เอาเปลือกคนทา ๑ รากมะตูม ๑ รากไม้เท้ายายม่อม ๑ รากชุมเห็ด ๑ รากกรรณิกาเสมอภาค ผลจันทน์เทศเท่ายาทั้งหลาย ทำผงละลายน้ำผึ้ง, น้ำขิงน้ำดอกไม้กินหายแล



๕๑ เทียนดำ แก้วาโยธาตุกำเริบ ให้คลื่นเหียนให้อาเจียรลมเปล่าให้ตัวร้อน เอาขิงข่าสิ่งละส่วน เทียนดำสองส่วนละลายน้ำจันทน์ขาวกินหายแล



๕๒ เทียนเยาวพาณี แก้เสมหะพิการ ให้ปวดมวนท้องเอาสมอไทย, กระเทียมเสมอภาค เทียนเยาวพาณีเท่ายา ทั้งหลายทำผงเคล้าน้ำมะนาวเปนกระสาย ผึ่งแดดให้แห้งเอาเปลือกตะแบกหนามเล็บเหยี่ยวต้มละลายกินหายแล



๕๓ เทียนตาตั๊กแตน แก้วาโยธาตุกำเริบ ให้ปวดมวนให้ท้องขึ้นลงท้อง เอาเปลือกพริกไทย ๑ เปลือกมะเดื่อ ๑ เปลือกแคแดงเสมอภาค เทียนตาตั๊กแตนเท่ายาทั้งหลาย ทำผงละลายน้ำขมิ้นชันแทรกเกลือกิน ถ้ามิฟังละลายน้ำผลเบญกานีกินหายแล



๕๔ เทียนสัตตบุษย์ แก้วาโยธาตุ แก้เตโชธาตุกำเริบ อาโปธาตุหย่อนให้เปนบิดปวดมวน เอาใบเนรภูสี, กระเทียมกรอบ, ดีปลีเสมอภาค เทียนสัตตบุษย์เท่ายาทั้งหลาย ทำผงเอาเปลือกตะแบก หนามเล็บเหยี่ยวต้มเอาน้ำละลายกิน ถ้าลงท้องเอาเทียนเข้าเปลือก จันทน์ทั้ง ๒ ผลเบญกานี, กระเทียม, เปลือกขี้อ้าย, หางกราย, ต้มละลายยากินหายแล



๕๕ เทียนเข้าเปลือก แก้ปถวีธาตุกำเริบให้เปนบิดตกมูกเลือด เปนหัวกุ้งเน่าให้เหม็นเน่า เปนเพื่อเสมหะพิการแลลมกำเริบ เอาผลเบญกานี, ผลจันทน์ทั้ง ๒ ปิ้งไฟให้เหลืองเสมอภาค เทียนเข้าเปลือกเท่ายาทั้งหลาย ทำผงละลายน้ำมะนาว น้ำส้มส้ากิน ถ้ามิฟังละลายน้ำเปลือกมะเดื่อกินหายแล



๕๖ ผลกระวาน แก้ไข้เพื่ออากาศธาตุกำเริบ ให้ปวดศีรษะแลร้อนกระบอกตาให้ท้องขึ้นแลเจ็บกระดูกทุกข้อ เอาจันทน์ทั้ง ๒ ผลพิลังกาสา, พริกหอม, พริกหาง, การบูรเสมอภาค ผลกระวานเท่ายาทั้งหลาย ทำผงละลายน้ำมะงั่ว, น้ำร้อน, ดอกพิกุล กินหายแล



๕๗ ใบกระวาน แก้ไข้เพื่อวาโย, โลหิตแลอาโปธาตุ กำเริบให้จุกเสียดเปนก้อนในท้อง ให้นอนมิหลับให้มักโกรธ เอาตรีกฏุก ๑ ขอนดอก ๑ โกฐหัวบัว ๑ จันทน์ทั้ง ๒ กฤษณาเสมอภาค ใบกระวานเท่ายาทั้งหลาย ทำผงละลายน้ำตาลกรวด น้ำตาลทรายกินหายแล



๕๘ จันทน์ขาว แก้ไข้เพื่ออากาศธาตุกำเริบ ให้ท้องลั่นตาแดงให้ตัวร้อนเมื่อยต้นคอให้เหม็นคาวคอ เอาหว้านน้ำ ๑ สหัสคุณเทศ ๑ เจตพังคี ๑ หัวหญ้าชันกาด ๑ หญ้ารังกา ๑ เสมอภาค จันทน์ขาวเท่ายา ทำผงละลายน้ำเกลือ, น้ำอ้อย, ระคนกันกินหายแล



๕๙ จันทน์ แก้ไข้พิษแลไข้เพื่ออาโปธาตุกำเริบ วาโยธาตุจึงเปนจะละนะ มิได้ปรกติทำให้ลงท้องปวดมวน เอาเขากระบือ เผือกเผา, ตรีกฏุก, ผลเบญกานี, เนรภูสี, สิ่งละส่วนจันทน์แดงสองส่วน ทำผงละลายน้ำเปลือกมะเดื่อกินหายแล



๖๐ เกสรสารภี แก้โลหิตพิการ ให้ตัวบวมให้ลงท้องสวิงสวาย ให้อยากอาหาร แต่บริโภคมิได้ เอาเจตมูลเพลิง ๑ สะค้าน ๑ ตรีกฏุก ๑ บอระเพ็ด ๑ สารส้ม, เสมอภาค เกสรสารภีเท่ายาทั้งหลาย ทำผงละลายน้ำอ้อยแดง, น้ำผึ้ง, น้ำส้มสายชู, กินหายแล



๖๑ ดอกมะลิ ดอกพิกุล แก้ไข้มิรู้จักสมปฤดี ให้ร้อนแล เย็นให้เพ้อบ่นไปเปนไข้บาดทะจิต เอาดอกจำปาขาว ๑ ดอกกรรณิกา ๑ ดอกทองกวาว ๑ ดอกอังกาบ ๑ พริกหอม ๑ พริกหาง เสมอภาค ดอกมะลิฤาดอกพิกุลเท่ายา ทำผงละลายน้ำมะพร้าวนาฬิเกตั้งไฟให้สุกละลายยากินหายแล



๖๒ ดอกบุนนาค แก้ไข้เพื่อลมอากาศธาตุกำเริบให้ตามืด หูตึงหาวเรอ เอากระเทียม, สมอไทย, ตรีกฏุก, จันทน์ทั้ง ๒, เทียนตาตั๊กแตน เสมอภาค ดอกบุนนาคเท่ายาทั้งหลาย ทำผงละลายน้ำจันทน์ขาว, น้ำไพลกินหายแล



๖๓ เปลือกบุนนาค แก้ไข้เพื่ออากาศธาตุกำเริบ ให้เวียนศีรษะหนักศีรษะมึนตึงไปแลตัวเย็นตามืด เอาต้นผักชีล้อม ตรีกฏุก, กระเทียม, เสมอภาค เปลือกบุนนาคเท่ายา ทำผงละลายน้ำ หน่อไม้ เกลือ น้ำอ้อย ระคนกันให้กินหายแล



๖๔ รากผลใบบุนนาค แก้ไข้เพื่อเตโชธาตุกำเริบ ให้เจ็บท้องให้คลื่นเหียนให้สะอึก เอาหว้านน้ำ ใบคนทีสอ รากไผ่ป่า รากสะไอ ตรีกฏุกเสมอภาค เอารากบุนนาคก็ดี ใบบุนนาคก็ดี ผลบุนนาคก็ดีเอาแต่อย่างหนึ่งเท่ายาทำผง เอาใบมะอึก, ใบตำลึง ใบข่า ตำเอาน้ำละลายยากินหายแล



๖๕ ดอกบัวหลวงแดง แก้ไข้ในคิมหันตฤดูเพื่อปถวีธาตุ กำเริบให้ตัวร้อนบ้างตัวเย็นบ้าง หญ้าพองลม ขิง หญ้ารังกา เสมอภาค ดอกบัวหลวงแดงเท่ายา ทำผงละลายน้ำจันทน์ทั้ง ๒ น้ำดอกไม้, น้ำซาวข้าว, ต้มกินหายแล



๖๖ ดอกบัวหลวงขาว แก้ไข้เพื่อลมเพื่อโลหิตเพื่อเสมหะ ทำให้ตัวเย็นให้คลื่นเหียน ให้เมื่อยขบทั่วสรรพางค์ ให้ตาพรายๆเปนหิ่งห้อย ให้เอาดีปลี จันทน์ทั้ง ๒ ใบน้ำเต้า ฆ้องสามย่านเสมอภาค ดอกบัวหลวงขาวเท่ายา ทำผงละลายน้ำดอกพิกุล ดอกมะลิ ดอกบุนนาค ดอกแคแดง น้ำตำลึง กินหายแล




๖๗ ดอกสัตตบุษย์ แก้ไข้เพื่อธาตุทั้ง ๔ กำเริบ ให้ปวดมวนให้ร้อนท้องไม่มีกำลัง ให้เชื่อมมึนให้คางล้ามิได้เจรจาหาสมปฤดีมิได้ เอาโกฐทั้ง ๕ ตรีผลา จันทน์ทั้ง ๒ รากหญ้าตีนกา ชะเอมเทศ ชะลูดเสมอภาค ดอกสัตตบุษย์เท่ายาทำผงละลายน้ำ สุพรรณทลิกา น้ำหญ้าลูกเคล้า น้ำดอกไม้ น้ำส้มส้า กินหายแล



๖๘ ดอกบัวเผื่อน แก้ไข้เปนด้วยธาตุทั้ง ๔ กำเริบ ให้ปวดหัวจุกอกเพื่อโลหิตพิการให้ท้องขึ้น เอาหัวหญ้าชันกาด ๑ แห้วหมู ๑ โกฐทั้ง ๕ เทียนดำ ๑ จันทน์ทั้ง ๒ เสมอภาค ดอกบัวเผื่อนเท่ายา ทำผงละลายน้ำดอกไม้ น้ำตาลทราย น้ำส้มส้า กินหายแล



๖๙ ดอกบัวขม แก้ไข้เพื่ออากาศธาตุกำเริบ ให้ปวดศีรษะให้ตัวร้อนเมื่อยขบทั่วสรรพางค์ ให้คลื่นเหียนให้วิงเวียน เอาใบกระวาน ๑ ผลกระวาน ๑ รากเสนียด ๑ รากตำลึงเสมอภาค ดอกบัวขมเท่ายา ทำผงละลายน้ำจันทน์ทั้ง ๒ น้ำดอกไม้ น้ำซาวเข้ากินหายแล



๗๐ กัญชา แก้ไข้ผอมเหลืองหากำลังมิได้ ให้ตัวสั่นเสียงสั่น เปนด้วยวาโยธาตุกำเริบ แก้นอนมิหลับ เอาตรีกฏุก ๑ จันทน์ทั้ง ๒ ใบสะเดา ๑ ใบคนทีเขมา ๑ พริกล่อนเสมอภาค ใบกัญชาเท่ายาทั้งหลายทำผง เอาน้ำมะพร้าว น้ำผึ้ง น้ำส้มส้า น้ำตาลทราย กระทือสด น้ำเบญจทับทิม ต้มละลายยากินหายแล



๗๑ หว้านน้ำ แก้อาโปธาตุกำเริบให้ปวดศีรษะให้เคืองตาหูดังอื้อๆ ให้เมื่อยต้นคอ เอาโกฐหัวบัว ๑ ตรีกฏุก ๑ กระเทียมเสมอภาค หว้านน้ำเท่ายาทั้งหลาย ทำผง เอาน้ำผึ้งเอาน้ำตาลระคนกันละลายยากินหายแล



๗๒ มะยม แก้ไข้เพื่ออากาศธาตุกำเริบ ให้เท้าเย็นตัวร้อนรุ่มไปมิได้เปนเวลา ไปปัสสาวะบ่อยๆ เอาดอกราชพฤกษ์ ๑ รากคัดเค้า ๑ ตรีกฏุกสิ่งละส่วน ใบมะยม ๒ ส่วน ทำผงละลายน้ำร้อน น้ำหอมแดง หยัด เหล้าสักหน่อยกินหายแล



๗๓ อบเชยเทศ แก้ไข้เพื่อโลหิตกำเริบ ให้อาเจียรให้จุกเสียดให้ตาแดง เอาโกฐทั้ง ๕ หนึ่ง ตรีกฏุกเสมอภาค อบเชยเทศ เท่ายาทำผงละลายน้ำส้มส้า น้ำมะงั่ว น้ำมะนาว กินหายแล



๗๔ อบเชยญวน แก้ปถวีธาตุกำเริบ ให้เจ็บหลังแลหลัง แข็งเส้นท้องตึงชักกระตุกให้ปวดมวนท้อง เอารากพริกไทย ๑ รากกุ่มน้ำ ๑ รากกุ่มบก ๑ รากไม้รวก ๑ ตรีกฏุก ๑ ไม้ชำฉาเสมอภาค อบเชยญวนเท่ายาทั้งหลาย ทำผงละลายน้ำผึ้ง น้ำส้มส้า กินหายแล



๗๕ แก่นขนุน แก้อาโปธาตุกำเริบ แลโลหิตพิการเมื่อยขบทั่วสรรพางค์ เวลาเช้าให้ท้องขึ้นไม่รู้รสอาหารให้เหม็นผักปลา เอารากเจตมูลเพลิง ๑ พริกไทยล่อน ๑ พริกหอม ๑ พริกหาง ๑ รากช้าพลูเสมอภาค แก่นขนุนเท่ายาทั้งหลาย ทำผงละลายน้ำผึ้งกินหายแล



๗๖ ผลเอ็น แก้วาโยธาตุกำเริบเพื่อลมอากาศธาตุ ให้คันทั้งตัวดังไรไต่ให้ตามืดหูตึง เอารากจิงจ้อ ๑ เปล้าน้อย ๑ แฝกหอม ๑ รากกรรณิกาสิ่งละส่วน ผลเอ็นสองส่วน ทำผงละลายน้ำผึ้งกินหายแล



๗๗ สมุลแว้ง แก้ธาตุทั้ง ๔ กำเริบ กระทำให้โลหิตเสีย ให้บวมทั้งตัว เอารากช้าพลู ๑ ผลกระวาน ๑ ใบกระวาน ๑ ตรีกฏุก ๑ มหาหิงคุ์ เสมอภาค สมุลแว้งเท่ายา ทำผงละลายน้ำขิง น้ำข่า กระเทียม, ระคนกันกินหายแล



๗๘ ชะเอมเทศ แก้ไข้เพื่อเสมหะพิการให้เจ็บอกเจ็บหลัง ให้ร้อนแลไอแห้งไม่มีเสมหะ เอาขิงสด ๑ ผลกระวาน ๑ ดีปลี ๑ เกลือสินเธาว์เสมอภาค ชะเอมเทศเท่ายาทั้งหลาย ทำผงละลายน้ำมะนาว น้ำข่า น้ำตาลกรวด น้ำตาลทราย ขัณฑสกร กินหายแล



๗๙ หญ้าลูกเคล้า แก้ไข้เพื่อโลหิตกำเริบ เอาไพล ๑ รากคัดเค้า ๑ ก้านสะเดา ๑ ขมิ้นอ้อยเสมอภาค หญ้าลูกเคล้าเท่ายาต้มกินหายแล



๘๐ รากเสนียด แก้ไข้เพื่อลมกำเริบ ให้ตัวร้อนผอมเหลือง เอารากหญ้ารังกา ๑ ว่านน้ำเสมอภาค เสนียดเท่ายาทั้งหลายต้มกินหายแล



๘๑ ไม้เท้ายายม่อม แก้ตัวร้อน ให้หนาวปวดศีรษะ ไม่มีกำลังให้สติฟั่นเฟือน หาสมปฤดีมิได้ ให้เปนเสมหะกำเริบ เอารากเข็มขาว, รากเข็มแดง สิ่งละส่วน ไม้เท้ายายม่อมสองส่วน ต้มกิน เมื่อกินแซกน้ำอ้อยแต่พอสมควรกินหายแล



๘๒ น้ำนมโค แก้ไข้เพื่อโลหิตแลฝีพิษฝีกาฬ ให้ผอมเหลืองแห้งไปให้หอบให้อาเจียร เอาพริกไทย ๑ น้ำตาลทรายแดง ๑ ละลายน้ำเข้าต้มส่วนหนึ่ง น้ำนมโคส่วนหนึ่งกินหายแล



๘๓ เนยนั้นเมื่อต้นไข้แพทย์จะประกอบกับยาให้กินมิควร ถ้าไข้ยังไม่ถอยตกไปถึงโรคสันนิบาตแล้ว แพทย์จะแซกยาให้กินก็ควร แพทย์มิได้พิเคราะห์ให้แจ้ง ให้กินเข้าไปเมื่อต้นไข้ก็ถึงมรณะ เพราะว่าแพทย์มิรู้คัมภีร์อไภยสันตา แลคัมภีร์สรรพคุณ จึงได้ทำผิดไป เมื่อแพทย์รู้ว่าตัวทำผิดแล้วจงเร่งให้ประกอบยาแก้พิษเลยเสียเถิดโรคจึงจะคลาย



ยาแก้พิษสำแลงไข้ นั้น เอาผลบัวหลวง ๑ หัวแห้ว ๑ ผลกระจับน้ำ ๑ เกสรบัวหลวง ๑ รากมะกอก ๑ รากมะปรางเปรี้ยว ๑ รากมะปรางหวาน ๑ รากหมาก ๑ รากมะพร้าว ๑ เหมือดคน ๑ ทำผงละลายน้ำร้อน, น้ำดอกไม้, น้ำอ้อยแดง, กินถอนพิษผิดสำแลงเพื่อไข้สันนิบาตแล



๘๔ ทองหลางใบมน แก้ไข้ปากหวานปากขมปากเปรี้ยว เพื่อธาตุทั้ง ๓ ไม่ปรกติ คือวาโยธาตุ ปถวีธาตุ อาโปธาตุ กำเริบให้ปวดมวนท้องขึ้น จึงให้ปากหวานปากเปรี้ยวปากขม เอารงทองประสะให้บริสุทธิ์ ผักคราด ๑ มะเขือฝรั่ง ๑ ใบกระวาน ๑ พริกไทย ๑ เสมอภาค ทองหลางใบมนเท่ายา ทำผงแล้วเอารากแคแตร สังกรณี เกลือ ตำเอาน้ำละลายยากินหายแล



๘๕ ใบคนทา แก้ไข้ให้เจ็บท้องลงท้องให้อาเจียร เอาผิวมะกรูด ๑ ขิง ๑ ดีปลี ๑ หว้านน้ำ ๑ ผลผักชี ๑ เอาเสมอภาค ใบคนทาเท่ายาทั้งนั้น ทำผงละลายน้ำเทียนดำ กานพลู ต้มกินหายแล



๘๖ ช้าแป้น แก้ไข้หอบหิวแสบอกให้มือตายเท้าตาย เอาตรีกฏุก ๑ กะเพรา ๑ รากสลอด ๑ หว้านน้ำ ๑ เอาเสมอภาคช้าแป้นเท่ายา ต้มกินหายแล



๘๗ รากกระทุ้งหมาบ้า ขับโลหิตอันเสียเหลวจางไปด้วยธาตุทั้ง ๔ มิได้เสมอกัน เอารากมะนาว ๑ รากมะตูม ๑ รากฟักเข้า ๑ รากเสนียด ๑ รากงิ้ว ๑ รากง้าว ๑ ตรีกฏุก ๑ สิ่งละส่วน รากกระทุ้งหมาบ้า ๒ ส่วน ใบคนทีสอเท่ายาทั้งหลาย ต้มกินหายแล



๘๘ ไพล แก้โลหิตมิสะดวกจึงกลายเปนตกหมกช้ำเกาะกรังอยู่ ตามสันหลัง จึงบังเกิดเปนโรคสันทคาด ให้เอาเมล็ดพรรณผักกาด ๑ หญ้ายองไฟ ๑ ผักเปดแดง ๑ กระเทียม ๑ ตรีกฏุก ๑ เสมอภาค ไพลเท่ายา ทำผงละลายสุราแลน้ำส้มสาชู, น้ำส้มส้า กินหายแล



๘๙ คัดมอน แก้ไข้เพื่อโลหิตพิการ ให้เหม็นเน่าเหม็นคาว เปนก้อนขัดอยู่เดินมิสะดวกกระทำให้ร้อน เอาหญ้าพันงูขาว ๑ ตรีกฏุก ๑ ไพล ๑ เทียนดำ ๑ สารส้ม ๑ เสมอภาค รากคัดมอนเท่ายาละลายสุรา แลน้ำมะขามเปียกกินหายแล



๙๐ ผักกะชะ แก้หญิงขัดฤดูมิได้สะดวก เอาเทียนดำ ๑ ใบจำปา ๑ ตรีกฏุก ๑ กระเทียม ๑ เสมอภาค ผักกะชะเท่ายา ทำผงละลายน้ำใบกะเม็งกับสุราระคนกันกินหายแล



๙๑ เอื้องเพ็ดม้า แก้ไข้อันหาสมปฤดีมิได้ ให้จับเพื่อโลหิตพิการแล่นไปทั่วกาย เพราะวาโยธาตุยิ่งบ้างหย่อนบ้าง มิได้เสมอกัน เอาทองหลางใบมน ๑ หว้านน้ำ ๑ ตรีผลา๑ เปลือกมะรุม ๑ เอาสิ่งละส่วน เอื้องเพ็ดม้าสองส่วนทำผงละลายน้ำร้อน น้ำส้มส้า กินหายแล



๙๒ กันเกรา แก้หญิงอายุ ๑๔, ๑๕, ๑๖, ปี ฤดูมิได้ปรกติจึงเปนไข้ให้จุกเสียด เพราะโลหิตเปนก้อนอยู่ในท้อง แลให้ผอมเหลืองจนถึงตายก็มี ให้เอาหัศคุณเทศ ๑ แก่นมูลเหล็ก ๑ หญ้าพันแดง ๑ ดอกคำฝอย ๑ รากกุ่มบก ๑ พริกไทย ๑ สารส้ม ๑ เสมอภาค กันเกราเท่ายา ทำผงละลายน้ำมะนาว น้ำส้มส้า ไพล กินแก้ฤดูมีไม่สะดวกให้ปรกติแล



๙๓ รากมะตาดเครือ แก้หญิงขัดฤดูปีหนึ่งสองปีก็ดีเปน ไข้ผอมแห้งจนถึงตาย เอาตรีกฏุก ๑ ไพล ๑ ผลคัดเค้า ๑ สิ่งละส่วน รากมะตาดเครือสองส่วน ตำเอาน้ำแซกเกลือสินเธาว์ต้มกินหายแล



๙๔ รากกระดังงา แก้หญิงไข้เพื่อโลหิต แลลมระคนกัน แลเสมหะพิการ ด้วยวาโยธาตุกำเริบให้จุกเสียดผอมเหลืองให้ไอ แลตัวเปนเกล็ดดังเกล็ดงูเห่า เอาสหัศคุณไทย ๑ เปล้าใหญ่ ๑ เปล้าน้อย ๑ พริกไทย ๑ เกลือ ๑ สิ่งละส่วน รากกระดังงา ๒ ส่วน แช่มูตรโคผึ่งแดดให้แห้งแล้วทำผงเอาน้ำบอรเพ็ด, น้ำผึ้ง ระคนกัน ละลายยาให้กินเปนลูกกลอน หายแล



๙๕ รากปล้องป่า แก้ไข้ชายหญิงเพื่อโลหิต แลลมระคนกันด้วยเสมหะกำเริบ ให้ปวดท้องจุกเสียดผอมเหลืองให้หูไว เอารากกุ่มบก ๑ เปล้าใหญ่ ๑ เปล้าน้อย ๑ บุกคางคก ๑ ส้มส้า ๑ สิ่งละส่วน รากปล้องป่าสองส่วน ทำผงละลาย น้ำส้มส้า, น้ำส้มพอูม กินหายแล

22.7.53

วิเศษสรรพคุณ

ในวิเศษสรรพคุณนี้ เปนแต่สังเขปพอให้แพทย์พึง รู้น้ำกระสายแห่งยา ซึ่งรักษาโรคอันใดอันหนึ่งตามอาจารย์ท่านกล่าวไว้ดังนี้



สิทธิการิยะ จะสำแดงด้วยลักษณะไม้อันมีคุณเสมอกันสืบต่อไป



คุณแห่งมะขามป้อมมีคุณเหมือนกันกับเสมอ แต่ว่าน้อยกว่าคุณสมอหน่อยหนึ่ง คุณสมอพิเภกนั้นเสมอกันกับมะขามป้อม



เกลือสินเธาว์กับสมอมีคุณเสมอกัน แก้ลมจุกเสียดผายธาตุ แลเสมอพิเภกกับเกลือสินเธาว์แก้เลือดแก้กำเดา มะขามป้อมกับเกลือสินเธาว์ แก้เลือดแก้เสมหะ สมอไทยสมอพิเภกแลมะขามป้อมสามสิ่งนี้ชื่อตรีผลา



พริกไทยนั้นมีรสอันเผ็ดร้อน ให้เกิดกำเดาให้กำเดาแห้งชอบ แต่แก้ลมในอก เจริญไฟธาตุแลลมอันเย็นทั่วสรรพางค์ แก้เสมหะ



รากดีปลีมีรสเผ็ด แก้ตัวร้อนแก้พิษคชราช ให้ปิดธาตุ ผลดีปลีมีรสเสมอกันกับราก แก้ลมเจริญไฟธาตุแก้หืดไอแก้เสมหะ



รากเจตมูลเพลิง มีรสร้อนแก้ริดสีดวงทวารหนัก แก้ตัวร้อนแก้บวมแก้คชราช มีคุณเสมอกันกับดีปลี

คุณขิงแห้ง แก้เสมหะ เจริญไฟธาตุ แก้ไอลึกในทรวงอก



ขิง ดีปลี พริกไทย คุณเสมอกันมีรสอันเผ็ด บำบัดโรคในอกแก้ลมทั้งปวง เจริญไฟธาตุแลแก้เสมหะแก้หืดไอ สามสิ่งนี้ประสมกันแก้ตรีสมุฏฐานโทษ คุณทั้ง ๓ สิ่งนี้ชื่อตรีกฏุกแล



ขิงสดมีรสเผ็ดร้อน แก้ลมในกองไฟธาตุให้กระจายเสีย แก้ลมพรรดึกแก้จุกเสียด แก้โรคในอกเจริญอาหาร แก้ไข้ ๑๐ ประการให้สมบูรณ์ ผลดีปลี, รากช้าพลู, สะค้าน, ขิงแห้ง, รากเจตมูลเพลิงทั้ง ๕ สิ่งนี้ชื่อเบญจกูลแล



อุโลกแก้พิษ รากแตงอุลิด แก้ร้อนกระหาย รากพุงดอ แก้บวม แก้ลม รากคันทรงดอกเหลืองแก้ริดสีดวงพลวก โคกกระสุน, ตับเต่า, อ้ายเหนียว, แลสรรพยา ๗ สิ่งนี้แก้ระหาย แก้ไข้สะบัดร้อนสะบัดเย็น แก้ลมมีพิษ แก้มูตรพิการ



มะรุมมีรสเผ็ดหวานขม แก้บวม เจริญไฟธาตุ รากกุ่มบกก็เหมือนกัน เปลือกทองหลางใบมนแก้เสมหะ แก้ตัวร้อน ผู้ใดเกิดลมเปนกำลังแล้ว จะกินยาขนานใดๆ ซึ่งจะแก้ลมนั้นตามตำราอันกล่าวไว้ในคัมภีร์ทั้งปวง ก็ให้งดรอไว้อย่าเพ่อให้กิน จงประกอบยาเข้า เปลือกกุ่ม, เปลือกมะรุม, เปลือกทองหลางใบมน, ให้กินเสียก่อนจึงชอบแล



โกฐก้านพร้าวมีรสขม แก้สะอึก, แก้ราก, แก้เสมหะ, แก้ลม, แก้ไข้สำประชวร แลแก้กำเดา

สมุลแว้งมีรสเผ็ดร้อน แก้ริดสีดวงในปากในคอ แก้หืดไอแลแก้ลมสำประชวร



มหาหิงคุ์นั้น ให้ย่อยอาหารแลเจริญไฟธาตุ แก้เสมหะ แก้ลมจุกเสียด แก้พรรดึก แก้บวมแล



เปลือกแคมีรสฝาดแลเค็มรู้ปิดธาตุ ใบนั้นมีรสจืด เจริญใจให้ผ่องแผ้ว เปลือกแลใบทั้งสองสิ่งนี้คุณเสมอกัน



หัวกระเทียม ให้ย่อยอาหารบำบัดโรคในอก กระทำให้ผมงาม แก้พรรดึกแก้ลมจุกเสียด ใบกระเทียมแลก้านแก้ฟกบวม



หัวหอมมีรสหวาน แก้ลมพรรดึกแลเจริญไฟธาตุเจริญอาหาร แก้กำเดา ใบนั้นเหมือนกันแล



ตะไคร้หอมมีรสเผ็ดร้อน หญิงกินให้ลูกตกแก้ริดสีดวงในปาก



ผลผักชีมีรสร้อนหวานบำบัดโรคในอก เจริญไฟธาตุ แก้อาเจียน แก้ไข้ แก้ริดสีดวงในตา



ผักคราดทั้ง ๒ มีรสเผ็ดร้อน แก้จุกเสียด เจริญไฟธาตุ แก้รำมะนาด แก้ลมพิษ แก้หืดไอ แก้สะอึก



กะเพรา, กะม็ง มีรสเผ็ดร้อนแลมีคุณเสมอกับผักคราด



ใบคนทีสอแลใบคนทีเขมา มีรสเผ็ดร้อนเสมอกัน แก้ตัวพยาธิ์ แก้ฟกบวม แก้เสมหะ แก้ลม แก้ริดสีดวงในคอแล



เมล็ดพรรณผักกาดมีรสเผ็ดร้อน แก้เสมหะ แก้ลม แก้จุกเสียด ผายธาตุแล



ผักโหมแดงแลขาว, มีรสอันร้อนทำให้รู้จักรสอาหาร แก้ไข้สำประชวรแล



จิงจ้อเหลืองแลขาว มีรสอันร้อน แก้ฟกบวม แก้ลมพรรดึก แลย่อยอาหาร แก้เสมหะ แก้โลหิต แก้กำเดาแล



รากทนดีมีรสอันร้อนแก้ตัวพยาธิ์ แก้ลมพรรดึก แลลมจุกเสียด แก้ฝี กุฏฐัง แก้ลมอันให้เย็น แก้ไข้ตรีโทษแล



ดองดึงมีคุณเสมอกับทนดี แก้ลมพรรดึก แก้ดานเสมหะ ชำระเสมหะแห้งแล



สลัดไดแลส้มเช้ามีรสอันร้อนแลเปรี้ยว แก้ฟกบวม แก้จุกเสียด แก้แม่พยาธิ์อันกระทำให้ลงท้อง เจริญไฟธาตุย่อยอาหารให้พลันแหลกแล



ยางสลัดไดนั้นแรงกว่าต้นแลใบ คุณยางเทพทาโรแลยางตาตุ่ม ยางรักขาว แลเข้าค่า ทั้ง ๕ อย่างนี้ มีคุณเสมอกันมีรสอันร้อน แก้ตัวพยาธิ์ แก้ฟกบวมแลคชราช ผายธาตุแล



สหัศคุณแลพาดไฉนแลโลดทะนงแลเมล็ดสลอด ทั้งสี่อย่างนี้มีคุณดุจกัน มีรสเผ็ดร้อน แก้หืดไอแก้พยาธิ์เสมหะแลลมทั้งปวง ผายธาตุแล



เปล้าใหญ่แลเปล้าน้อย มีรสอันร้อนมีกลิ่นอันหอมเผ็ดร้อน รู้กระจายสรรพลมทั้งปวงแล



รากกระวานใบกระวานผลกระวานนั้นชอบรำมะนาด แก้ลมแลเสมหะให้ปิดธาตุแล



ผลมะตูมแก่แต่ยังไม่สุก ให้ปิดธาตุบำบัดเสลดแลลมเจริญไฟธาตุ ผลมะตูมอ่อนเกือบจะแก่ แก้เสมหะ

แก้ลมทั้งปวง ผลมะตูมอ่อนยังเล็กนั้นบำบัดตรีโทษ แก้ลม ผลมะตูมสุกนั้นแก้เสมหะ แก้จุกเสียดเจริญไฟธาตุ มีรสอันหวานยิ่งให้มีกำลัง ผลมะตูมสุกแช่น้ำส้มพอูมเจริญไฟธาตุ มีรสอันหวานยิ่งมีกำลังแก้ลมทั้งปวงแล



เปลือกราชพฤกษ์มีรสขมฝาดเฝื่อน แก้พยาธิ์ แก้ไข้ แก้ฝีคชราช แก้โรคในทรวงอก แก้ฟกบวมในท้อง แก้ปวดมวนดังบิด ฝักนั้นมีรสหวานแลเย็น แก้ระหายน้ำให้มีกำลัง แก้เสมหะในอก แก้จุกเสียด แก้กำเดาให้กายซูบผอมให้สมบูรณ์แล



เปลือกโมกมันมีรสฝาดแลขม แก้โลหิตแลเสมหะ แก้ฝีอันเปื่อยพัง แก้ลงท้องแลจุกเสียด แก้กำเดาแล ผลมูกมันนั้น แก้หืด แก้ตกมูกแลลงท้อง แก้ลมสำประชวรแล



เปลือกคางแก้พิษฝี แก้พิษงู แก้ตัวพยาธิ์ แก้คชราช โลหิตตก แก้เปื่อยพัง แก้บวม ผลคางนั้นแก้โรคในจักษุ เปลือกสะท้อนนั้นมีคุณดุจเปลือกคางแล



เปลือกทอง, เปลือกปรู, ให้ปิดธาตุแก้ลงท้อง แก้หืดไอ ผลทอง, ผลปรู กินมีรสอันเผ็ดร้อนสักหน่อย เจริญไฟธาตุ แก้ตัวพยาธิ์ แก้จุกเสียด แก้ลงท้อง แก้สะพั้น



ราชพฤกษ์, ไชยพฤกษ์, โมกมัน, แลคาง, เปลือกสะเดา, เปลือกพุทรา, ไทร, สนุ่น, สะท้อน งิ้ว, กล้วย, ไม้พิกุล, แคฝอย, ใบมะตูม, ใบมะขวิด, แคทั้ง ๒ มูลอ้าย, (ต้นขี้อ้าย) หางกราย, ตะโก, พนม, พลับ, มะเดื่อ, มะม่วง, แลต้นไม้ทั้งปวงนี้เปลือกก็ดีรากก็ดีดอกก็ดี ผลก็ดีมีรสอันหวานฝาดเฝื่อน แก้ลงท้อง แก้ฝีเปื่อยพัง แก้บวม แก้ตัวพยาธิ์ แก้ตกโลหิต



ใบแคทั้ง๒ ใบสมี, ใบชุมเห็ด, ใบมะรุม, ใบพริกไทย, ใบมะระ, ใบมะไฟ, ใบไม้ทั้ง ๘ สิ่งนี้แก้นอนมิหลับให้ระส่ำระสาย ให้เอาใบไม้นี้แกงกินกับข้าวเจริญโลหิตนอนหลับแล ใบไม้อันกล่าวมาแต่ก่อนนั้นใบอ่อนกินเกิดโทษ



อนึ่งเปลือกใบไม้ใดๆ ก็ดี มีรสอันเปรี้ยว ให้ผายธาตุมีรสฝาดให้ปิดธาตุ มีรสหวานแก้ระหายให้มีกำลังเจริญกายแลโลหิตใช้ได้ แก้ปัจจุบันครั้งหนึ่งคราวเดียว ถ้าใช้เปนนิจเกิดโทษมากแล ผลตาลสุกมีคุณดุจกัน



เยื่อมะพร้าว น้ำมะพร้าว มีรสหวานกระทำให้ชุ่มอก เจริญไฟธาตุให้มีกำลัง แก้กำเดา แต่ถ้าใช้เปนนิจให้เกิดโทษมาก แลรากมะพร้าว ดอกมะพร้าว งวงตาลอันอ่อน มีรสหวานแก้ลงท้อง แก้โลหิต แก้ไข้ริดสีดวงปากเปื่อย ตรีกฏุกเสมอภาค ทำผงละลาย แก้ตรีโทษ ละลายน้ำนมกระบือ แก้กำเดา แก้ดี แก้โลหิตละลายน้ำนมแพะ แก้เสมหะแล



มูตร์มีรสอันเผ็ดร้อนแลเค็มแก้ลมแก้โลหิต แลเสมหะเจริญไฟธาตุแก้จุกเสียดแก้ฟกบวม แก้หืดไอแก้ผอมเหลือง



ผลไม้ทั้งหลายอันฝาด คือยางตะเคียนประดุจชันแลสีเสียด เทศสีเสียดไทยมีรสฝาดกินแก้ลงให้ปิดธาตุแล

ดอกบัว รากบัว มีรสอันร้อนแลฝาด แก้ลงท้อง แก้คลื่นเหียนแก้ไข้แล



ต้นมะลิ แก้ฝีคชราชแก้เสมหะแก้โลหิต ดอกมะลินั้นเย็นแก้ร้อนในอก กระทำให้ใจชุ่มชื่น แก้โรคในจักษุแก้ไข้ตัวร้อนทุกประการ



กรุงเขมา แลชะมดเชียง แก้ลมแลโลหิต แก้กำเดา แก้จักษุโรค



ชะมดสดแลโคโรคมีคุณอันยิ่ง แก้จักษุโรคแก้เสมหะแห้ง เสมหะหางวัว แก้รำเพรำพัด เพื่อภูตปิศาจ เจริญบุพโพให้บริบูรณ์แล



จันทน์แดง, จันทน์ขาว มีรสอันขมหวานเย็น มีคุณอันยิ่งแก้เหงื่อแก้มลทินแก้ตัวพยาธิ์ แก้ไข้ร้อนด้วยพิษ เจริญไฟธาตุให้สมบูรณ์



แก่นระกำป่า แก่นฝาง มีรสอันขมหวาน แก้ฝีคชราช แก้เสมหะ แก้โลหิต แก้กำเดา แก้ไข้สำประชวร

แก่นประดู่, แก่นมะซาง, แลแก่นตะเคียน มีคุณเสมอกัน



กระลำพักนั้นมีรสขมหวานเย็นมัน แก้ลมอังคมังคานุสารี แก้ตรีสมุฏฐาน แก้โลหิตโทษ



ขอนดอกนั้นมีรสเผ็ดจืด แก้เสมหะแก้เหงื่อแลไข้ร้อนเพื่อตรีโทษ



ขี้เหล็กทั้ง ๒ นั้นมีรสอันขมหวาน แก้โลหิต, กำเดาเสมหะ, เจริญไฟธาตุ



นมพิจิตร, โคกกระออม, โคกกระสุน, มีคุณเสมอกัน แก้ไข้เพื่อทุราวสา แก้ปัสสาวะให้บริบูรณ์



สะไอ มีรสอันขมฝาดเฝื่อนเย็น แก้บิดแลพยาธิ์



สะเดามีรสอันขมหวาน แก้กำเดา แก้ราก แก้สะอึก แก้พิษฝี แก้ไข้เพื่อดีพิการ



รากเสนียด ใบแลดอกมีรสอันขม แก้หืดไอแก้ไข้สำประชวร แก้โลหิต แก้บิด แก้พิษฝี แก้รัตตะ ปิตตะ



บอระเพ็ดทั้ง ๒ มีรสอันขมเย็น แก้เสมหะแลเลือดลม แก้ลงท้อง แก้ไข้ทั้งปวง เจริญไฟธาตุ



หญ้าขัดมอน ๓ ประการ แต่ต้นต้มกินมีกำลัง ราก, แก้อาเจียรคลื่นเหียน



ถั่วแปบ แก้ไข้สัมประชวรแลแก้จักษุโรค แก้เสมหะแก้ลมมีพิษ ให้ผายธาตุ



ยาเข้าห้อม มีรสอันขม แก้ลงท้องแก้โลหิตแก้สะอึก แก้ไข้กำเดา



อังกาบเหลืองแลขาวทั้ง ๒ มีรสหวาน แก้เสมหะ แก้ลมเจริญไฟธาตุ



ชะเอมป่า มีรสอันหวาน แก้ระหายน้ำ ชะเอมเทศ มีรสอันขมแลหวานยิ่ง แก้ระหายน้ำ แก้คอแห้ง แก้ไข้ทั้งปวง แก้จักษุโรค



ผักหวานตัวผู้มีรสหวาน แก้กำเดา แก้จักษุโรค



รากสามสิบทั้ง ๒ มีคุณยิ่งกว่าผักหวาน



สุพรรณทลิกา มีรสหวานกินแก้ผอมแห้ง ให้กายสมบูรณ์ให้รู้จักรสอาหาร แลแก้ลมเลือดพิการให้ปิดธาตุ

ผักคราดแลขอบชะนางทั้ง ๒ มีรสเผ็ดร้อน แก้ผอมเหลือง แก้ริดสีดวง ให้เจริญปัญญา



ผักโหมเทศทั้ง ๒ มีรสหวาน แก้เสมหะ เจริญไฟธาตุ แก้ฟกบวมในท้อง แลดอกนั้น แก้เสมหะ แก้พิษ

ข่ามีรสเผ็ดร้อน แก้พิษฝี แก้ฟกบวม กินแก้คุณวิทยาคม อันบุคคลกระทำ



กะทือป่ามีคุณดุจข่า เจริญไฟธาตุ แก้จุกเสียด



ไม้เท้ายายม่อมแลรากมะกล่ำตาช้างแดงตาขาว แก้ร้อน แก้กระหายน้ำ แก้อาเจียร แก้หืดไอ แก้พิษฝี

ใบแลผลมะกล่ำแดงนั้น แก้ริดสีดวงในทวารหนัก



ทองกวาวต้น ทองกวาวเครือทั้ง ๒ มีรสฝาดแลหวาน แก้ลมอัมพาต แก้โลหิต



บวบขมแลฟักขม แก้เสมหะ แก้ลม แก้พิษฝี แก้ริดสีดวงงอก แก้หืด



ชะบาทั้ง ๒ แก้พิษฝี แก้ฟกบวม กระทำให้รู้จักรสอาหาร



เปราะหอมทั้ง ๒ มีรสเผ็ดร้อน แก้พิษฝีพิษงู แก้พิษลมจุกเสียด



ผลกระวาน ดอกกระวานเทศ มีรสร้อนแลเผ็ดมีกลิ่นหอม แก้เสมหะแก้ลมในอกให้ปิดธาตุ



การบูรมีรสเผ็ดร้อน ให้ย่อยอาหารพลันแหลก แก้จักษุโรค แก้ริดสีดวง กระทำให้รู้จักรสอาหาร แก้ลมจุกเสียดแก้หืดไอ



กานพลูมีรสเผ็ดร้อนหวาน แก้มวกในลำไส้ แก้เสมหะ แก้ลมจุกเสียด เจริญไฟธาตุ



เชือกเขาไฟ กินแก้ร้อนแลผายธาตุ แก้ระส่ำระสาย แก้จุกเสียด แก้เสมหะ แก้ลม



เพชรสังฆาต แก้จุกเสียด แก้บิด แก้ปวดในข้อในกระดูก ชอบแก้ลมทั้งปวงแล



อบเชย แก้พิษร้อน แก้ลมอัมพาต แก้ไข้จับ



เขม่าเหล็กมีรสเผ็ดเย็น แก้ฝีคชราช



เกลือสินเธาว์ มีรสเค็ม แก้กำเดาแลลมจุกเสียด แก้พรรดึกแลไข้ตรีโทษ



เกลือประสะมีรสหวาน ย่อยอาหารให้พลันแหลกแก้ร้อนผายธาตุ แก้พิษ แก้กำเดา แก้ลมจุกเสียด



เกลือสมุท ๑ เกลือสินเธาว์ ๑ เกลือด่าง ๑ เกลือหุง ๑ เกลือทั้งหลายเหล่านี้มีคุณเสมอกัน รู้ชำระโทษ น้ำเหลืองให้บริบูรณ์



กระสารส้ม ๑ ด่างสลัดได ๑ ด่าง โคกกระสุน ๑ ด่างมะกล่ำตาช้าง ๑ ด่างประยงค์ ๑ มีคุณเสมอกัน แก้ฟกบวมทั้งปวง แก้ลมจุกเสียด แก้ผอมเหลือง แก้ริดสีดวงในท้อง แก้ลมอัมพาต แก้หืดไอ เจริญไฟธาตุ แก้พรรดึก



ด่างต้นงา ๑ ด่างหญ้าพันงู ๑ ด่างผักโหมหิน ๑ ด่างผลส้มป่อย ๑ ทั้งนี้มีคุณเสมอกัน แก้ดานเสมหะ



น้ำอ้อยสดมีรสหวานแลเย็น กินปัสสาวะออกมาก เจริญอายุให้มีกำลัง แก้กำเดาแลลม กระจายเสมหะผายธาตุ



น้ำอ้อยต้มแลอ้อยเผา มีรสหวานยิ่งกินแก้เสมหะหืดไอ แก้ไข้สำประชวร



หญ้าแพรกแก้ลมแลโลหิต บดเปนยารมแก้ตัวพยาธิ์ซึ่ง กระทำให้คันตัวทั่วสรรพางค์



หญ้าหนวดปลาดุก มีรสขม แก้ผอมเหลือง แก้โลหิต แก้ไข้ทั้งปวง แก้หืดไอ ให้รู้จักรสอาหาร



ขมิ้นชันขมิ้นอ้อยมีรสเผ็ดร้อน แก้พิษโลหิตแลลม แก้บวม แก้เสมหะ แก้ไข้ทั้งปวง แก้ตัวพยาธิ์กระทำให้คันทั่วสรรพางค์ แก้ฝี



ขมิ้นเครือเสมอกันกับขมิ้นอ้อย แก้เสมหะแลลม แก้ระหายน้ำ



เปราะทั้ง ๒ มีรสอันเผ็ดแลขม แก้เสมหะเจริญไฟธาตุ แก้ลงท้อง



หญ้าพันงูทั้ง ๒ แลมะไฟเดือนห้า, ผักเสี้ยนผีทั้ง ๒, รากหญ้าปากควาย สรรพยาทั้งนี้ มีรสเผ็ดร้อนเสมอกัน เจริญไฟธาตุ แก้พิษฝี แก้ไข้ตรีโทษ



ชิงชี่ทั้ง ๒ แก้ท้องมาน ให้ผายธาตุ แก้ฟกบวม แก้ลม



รากไคร้เครือแลมูลกาทั้ง ๒ มีรสเผ็ดขมเสมอกันแก้กำเดาแก้ไข้เพื่อลม



ลำพันทั้ง ๒ มีรสอันเผ็ดร้อนเสมอกัน แก้ไข้เพื่อภูตปิศาจ แก้ลมจุกเสียด แก้พิษฝี แก้ไข้กำเดา



พิลังกาสา มีรสเผ็ดร้อนขมฝาด แก้ไข้กำเดา



พรมมิมีรสหวาน แก้ไข้สวิงสวาย แก้หืดไอ กินแก้ริดสีดวง กินเจริญปัญญาด้วย



เปล้าทั้งสอง แลใบกระวาน, น้ำประสารทอง ผายธาตุ แก้ลมจุกเสียดเจริญไฟธาตุ มีกำลัง แก้ระหาย แก้เสมหะ แก้ลม



น้าอ้อยน้ำตาล กินผายธาตุ



น้ำผึ้งเก่ามีรสหวานร้อนฝาด กินผายธาตุให้ตัวผอมแห้ง



น้ำผึ้งใหม่รสยิ่งกว่าน้ำผึ้งเก่ากินมิได้ลงท้อง แก้ไข้ตรีโทษ



ขัณฑสกรทำด้วยน้ำอ้อยมีรสหวานเย็น กินเจริญเสมหะดี แก้อาเจียร แก้ระหายน้ำ



น้ำนมโครสเย็น กินปิดธาตุ ชอบแก้โรคในอก ให้มีกำลังเจริญไฟธาตุ



น้ำนมกระบือมีรสหวาน กินแก้พรรดึก ให้เจริญรสอาหาร



น้ำนมแพะมีรสหวานฝาดเย็น กินแก้ลงท้อง แก้โลหิต แก้ไอ แก้หืด



น้ำนมแกะแก้หืดไอแลจุกเสียด เจริญไฟธาตุ



น้ำนมอูฐมีรสเปรี้ยวหวานแลจืดเค็ม กินกระทำให้จุกเสียด ชอบแต่แก้บวมในท้อง แก้พยาธิ์ท้องมาน



น้ำนมม้ามีรสฝาดหวานเค็มเปรี้ยว กินเจริญธาตุมากนัก แต่มักจุกเสียด



น้ำนมช้างมีรสฝาดเย็นดี กินมีกำลังชอบริดสีดวง



น้ำนมทั้งปวงมีรสหวานยิ่งกินมีกำลัง แก้นอนมิหลับ แก้ลม เจริญไฟธาตุ



น้ำนมคน แก้ลมพรรดึก



น้ำนมเปรี้ยวคือทธิ เกิดแต่นมวัว มีรสหวานมันกินเจริญไฟธาตุ แก้ลมอันเย็น แก้ปัสสาวะพิการ



น้ำนมเปรี้ยวเกิดด้วยนมกระบือมีรสหวานมัน กินให้มีกำลัง



น้ำนมปนด้วยเนย กินปิดธาตุ แต่ว่าเกิดลม เจริญไฟธาตุ



รสสรรพยา อันใดมีรสเผ็ดร้อนนั้นชอบแต่แก้ลม มิชอบกำเดา ถ้ารสเผ็ดเปรี้ยวชอบแก้ลมจุกเสียดแต่ชอบพรรดึก ถ้ารสฝาดเฝื่อนชอบแต่ปิดธาตุ แก้ตัวพยาธิ์แลฟกบวม ถ้ารสหวานเย็นชอบแต่แก้ระหาย

21.7.53

พระคัมภีร์สรรพคุณ

พระคัมภีร์สรรพคุณ





๑ ปุน จปรํ ในลำดับนี้จะกล่าวด้วยพฤกษชาติแล ว่านยาอันมีคุณแก่สัตว์ทั้งหลายต่างๆ ตามลำดับกันโดยสังเขปไว้ดังนี้ จะกล่าวคุณแห่ง สมอ ๗ ประการนั้นก่อนเปนปฐม (๑) คือสมอหนึ่ง ชื่อวิทยา ผลสองเหลี่ยมมีรสเย็นดังฟักแก้สรรพพิษทั้งปวง (๒) สมอหนึ่ง ชื่อโรหินี ผลกลมมีรสอันเปรี้ยวแลหวานระคนกันแก้เสมหะอันข้นแค่น (๓) สมอหนึ่ง ชื่อบุตรนา ผลสามเหลี่ยมมีรสอันฝาด แก้บิดมูกเลือด (๔) สมอหนึ่ง ชื่ออนุตา ผลสามเหลี่ยมแต่เมล็ดนั้นเล็ก มีรสอันหวานเย็น แก้ไข้ให้คลั่งแลบ้าดีเดือด (๕) สมอหนึ่ง ชื่อมุตตะกี ผลห้าเหลี่ยม มีรสอันเปรี้ยวแลร้อน แก้ลมอันแน่นอยู่ในนาภี แลทรวงอก (๖) สมอหนึ่ง ชื่ออัพยา ผลหกเหลี่ยม มีรสอันขมแลร้อน แก้โลหิตโดยรอบคอบในอุทร (๗) สมอหนึ่ง ชื่อวิลันตา ผลเจ็ดเหลี่ยม สีเหลืองดังสีทอง มีรสอันหวานขมฝาดร้อน แก้จตุธาตุ แลตรีสมุฏฐาน มีคุณเปนมหันต คุณยิ่งนัก อนึ่งสมอป่าผลใหญ่ นั้นแก้กระสายโรคในอุทรแลแก้บิด ดอก, แก้ลมอันลั่นอยู่ในโสตร กะพี้, แก้ไข้อันฟกบวม แก่น, แก้โลหิตแลแก้คอขึ้นเม็ดดุจหนามบัว ราก, แก้เสมหะ อนึ่งผลมะขามป้อมอ่อนนั้น มีรสอันเปรี้ยวหวานระคนกัน แก้มังสะ ให้บริบูรณ์แลทำให้เสียงเพราะ แก้พรรดึกแลพยาธิให้กองเสมหะ อนึ่งผลมะขาม (ป้อม) แก่ นั้น มีรสอันขมเผ็ดฝาดเปรี้ยวระคนกัน ห้ามเสียซึ่งลมแลไข้อันพิเศษ อนึ่งผลสมอพิเภกอ่อนนั้น มีรสอันเปรี้ยวสังหารเสียซึ่งลมแลไข้อันพิเศษ อนึ่งผลสมอพิเภกแก่ นั้น มีรสอันฝาดแก้โรคอันบังเกิดแก่จักษุ แก้โรคอันบังเกิดแต่ธาตุกำเริบแลไข้จับ บำรุงธาตุแลแก้ริดสีดวงเมล็ดใน, แก้บิดทั้งปวง ใบ, แก้บาดแผลทั้งปวงอันประกอบไปด้วยพยาธิ ดอก, แก้โรคอันบังเกิดแต่จักษุ เปลือก, แก้ในทางปัสสาวะพิการ แก่น, แก้ริดสีดวงพลวก ราก, แก้โลหิตอันทำให้ร้อน



๒ ปุน จปรํ ลำดับนี้จะกล่าวสรรพคุณแห่งยาเบญจกูล อันอาจารย์ท่านกล่าวไว้สืบกันมา ว่ามีพระดาบส ๖ พระองค์ (๑) พระองค์หนึ่งชื่อฤาษีบัพพะตัง บริโภคซึ่งผลดีปลี อาจระงับอชินโรค (๒) พระองค์หนึ่งชื่อฤาษีอุธา บริโภคซึ่งรากช้าพลู อาจระงับเมื่อยขบ (๓) พระองค์หนึ่งชื่อฤาษีบุพเทวา บริโภคซึ่งเถาสะค้านอาจระงับเสมหะแลวาโยได้ (๔) พระองค์หนึ่งชื่อฤาษีบุพพรต บริโภคซึ่งเจตมูลเพลิง อาจระงับซึ่งโรคอันบังเกิดแต่ (ดี) อันทำให้หนาวแลเย็นได้ (๕) พระองค์หนึ่งชื่อฤาษีมหิทธิกรรม บริโภคซึ่งขิงแห้ง อาจระงับตรีโทษได้ (๖) พระองค์หนึ่งชื่อฤาษีมุรทาธร เธอองค์นี้เปนผู้ประมวลสรรพยาเข้าด้วยกันจึ่งชื่อว่าเบญจกูลเสมอภาค แลยาเบญจกูลนี้ถ้าผู้ใดได้บริโภคแล้ว อาจระงับโรคอันบังเกิดแต่ทวัตติงษาการ มีผมเปนต้นแลสมองเปนที่สุด แลบำรุงธาตุทั้ง ๔ ให้บริบูรณ์



อนึ่งสรรพคุณพริกไทย นั้น ใบ, แก้ลม ๖ จำพวกแลตั้งจตุธาตุให้มั่น เมล็ด, แก้ลมอัณฑพฤกแลมุตคาด รู้ดับเสมหะอันฟุ้งซ่านให้งวดลง บำรุงธาตุให้เปนปรกติ แก้สรรพลมทั้งปวงอันเกิดในทรวง ดอก, แก้จักษุแดงดังโลหิต เครือ, แก้อติสาระ โรค แก้เสมหะอันคั่งอยู่



อนึ่งสรรพคุณตรีผลา นั้น กล่าวคือสมอไทย ๑ สมอพิเภก ๑ มะขามป้อม ๑ ทั้ง ๓ นี้ระคนกันเข้าจึงชื่อว่าตรีผลา ถ้าผู้ใดได้บริโภคอาจระงับโรคอันบังเกิดแต่ดี แก้เสมหะแลลมในกองธาตุฤดูแลกองอายุสมุฏฐานนั้นแล



อนึ่งสรรพคุณแห่งตรีกฏุก นั้น คือพริกไทย ๑ ขิงแห้ง ๑ ดีปลี ๑ ทั้ง ๓ นี้ระคนกันเข้าจึงชื่อว่าตรีกฏุก แปลว่าของเผ็ด ๓ สิ่ง ถ้าผู้ใดได้บริโภคอาจระงับโรคอันบังเกิดแต่ลม แก้ดีแลเสมหะในกองสมุฏฐาน ตามธาตุฤดูแลอายุสมุฏฐานนั้นแล



อนึ่งสรรพคุณตรีสาร นั้น กล่าวคือเจตมูลเพลิง ๑ สะค้าน ๑ ช้าพลู ๑ ทั้ง ๓ นี้ระคนกันเข้าจึงได้ชื่อว่าตรีสาระแก่น ๓ ถ้าผู้ใดได้บริโภคอาจระงับโรคอันบังเกิดแต่เสมหะ แก้ลมแลดีอันบังเกิดแต่ธาตุฤดูแลอายุสมุฏฐานนั้นดุจกล่าวมานี้



๓ ปุน จปรํ ลำดับนี้จะกล่าวด้วยลักษณะตรีผลากฏุก แลตรีสาระแลเบญจกูล ซึ่งกล่าวมาแล้วแต่หนหลังนั้น แลเบญจกูลนั้นจัดเปน ๔ ประการ คือ อภิญญาณเบญจกุล ๑ มหาพิกัตเบญจกูล ๑ โสฬศเบญจกูล ๑ ทศเบญจกูล ๑ แลตรีผลากฏุก แลสตรีสาระซี่งกล่าวมานี้ ยังมิได้สำเร็จตามนัยอธิบายแห่งอาจารย์ ท่านจัดไว้อันมีอยู่ในคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัยผูก ๒ ว่าด้วยมหาพิกัตนั้นโดยฐาน ในที่นี้ว่าไว้พอให้แจ้งแต่สังเขป ลำดับนี้จะกล่าวสรรพคุณซึ่งจะแก้โรคต่างๆ นั้นต่อไป ตามอธิบายแห่งอาจารย์แต่ก่อนกล่าวไว้ อนึ่งสรรพคุณแห่งขิงแห้งนั้น มีรสอันหวานย่อมแก้พรรดึก แก้ไข้จับ แก้นอนมิหลับ แก้ลมพานไส้ แก้ลมแน่นในทรวง แลลมเสียดแทงคลื่นเหียน ขิงสดนั้นมีรสอันหวานร้อน เผ็ด เหง้า, จำเริญอากาศธาตุ ดอก, แก้โรคอันบังเกิดแต่ดวงหทัย ใบ, แก้กำเดาให้บริบูรณ์ ต้น, สกดลมให้ลงไปทางคูถทวาร ราก, แก้ให้เสียงเพราะแลเจริญอาหาร ดีปลีมีรสอันเผ็ดขม ราก, นั้นแก้พิษอัมพฤกษ์ อัมพาตแลพิษปัสคาดต้น, บำรุงเสมหะ ใบ, แก้เส้นสุมนา เส้นอัษฏากาศ เถา, แก้อัณฑพฤกษ์แลมุตคาด ดอก, แก้ปถวีธาตุ ๒๐ ประการ จะกล่าวสรรพคุณแห่งช้าพลู ราก, แก้คูถเสมหะ ต้น, แก้อุระเสมหะ ผล, แก้สอเสมหะ ใบ, กระทำเสมหะให้งวด สะค้านเถา, แก้ลมอันบังเกิดในกองธาตุแลกองสมุฏฐาน ใบ, แก้ลมในกองเสมหะโลหิต ผล, แก้ลมอันบังเกิดในทรวงอก ราก, แก้ไข้อันประกอบไปด้วยหืด ดอก, ทำลายลมอันมีพิษ คือ พิษอัมพฤกษ์และปัสคาดอันเกิดแต่กองพรรดึก เจตมูลเพลิงแดง ราก, แก้จตุรการเตโชให้บริบูรณ์ ดอก, แก้พัทธะปิตตะ สมุฏฐาน ใบ, แก้อพัทธะปิตตะ สมุฏฐาน ต้น, แก้โลหิตอันบังเกิดแต่กองกำเดา เจ็ตมูลเพลิงขาว ราก, กระจายกองวาโยแลโลหิตอันมีพิษ ใบ, แก้วาโยในกองเสมหะ ดอก, แก้จักษุโรค ต้น, ชำระโลหิตอันเปนมลทินให้ตกเสีย



๔ ปุน จปรํ ในลำดับนี้จะกล่าว สรรพคุณแห่งโกฐทั้งหลาย อันมีคุณต่างๆ ดังนี้ (๑) คุณแห่งโกฐสอนั้นแก้ไข้จับแลหืดไอ (๒) โกฐเขมานั้นแก้โรคในปากในฅอ แลแก้หอบให้เสียดแทงสีข้างทั้งสอง (๓) โกฐบัวนั้น แก้ลมในกองริดสีดวงแลกระจาย ซึ่งสรรพลมทั้งปวง (๔) โกฐเชียงนั้น แก้ไข้ให้สะอึกแลให้ไอให้เสียดแทงสองราวข้าง (๕) โกฐจุฬาลำพานั้นแก้ไข้เจลียง แลแก้ผื่นพรึง ขึ้นทั้งตัว เปนเพื่อเสมหะแลหืดไอ (๖) โกฐกระดูกนั้นแก้ลมในเสมหะสมุฏฐาน (๗) โกฐก้านพร้าวนั้นแก้ไข้จับอันประกอบให้สะอึก แลแก้เสมหะแก้หอบ (๘) โกฐพุงปลานั้น แก้ไข้ในกองอติสารแลอุจจาระธาตุแลแก้พิษอันทำให้ร้อนเปนกำลัง (๙) โกฐน้ำเต้านั้น แก้พิษอันกระทำให้ธาตุมั่นแลแก้อุจจาระปัสสาวะให้บริบูรณ์ (๑๐) โกฐกักกรานั้น แก้ลมอันทำให้คลื่นเหียนแล แก้ดีพิการ แก้ริดสีดวงอันงอกในทวารทั้ง ๙ (๑๑) โกฐกะกลิ้งนั้น แก้โรคในปากในคออันประกอบไปด้วยกิมิชาติ อันเบียนบ่อน แก้ไข้ในทางปัสสาวะให้สะดวก แลแก้พิษงูตะขาบแลแมลงป่อง แก้ลมอันกระทำให้กระเพื่อมในอุทร แลคลื่นเหียน สมมุติว่าลมพานไส้ แก้ริดสีดวงทวารแลแก้โลหิตอันกระทำให้เย็นแลกระจายเสียซึ่งลมผูกกลัดทวาร แลลมตั้งมั่นอยู่ในอุทร (๑๒) โกฐจุฬารสนั้น กระจายบุพโพ อันเปนก้อน ฆ่าเสียซึ่งแม่พยาธิ์อันบังเกิดแต่ไส้ด้วนไส้ลาม อุปทม ขับโลหิตอันเน่าให้ตกแลแก้รัตตะปิตตะโรค สังหารเสียซึ่งโลหิตอันบังเกิดแต่กองปิตตะสมุฏฐาน กระจายเสียซึ่งสรรพพิษทั้งปวง กล่าวสังเขปคุณแห่งโกฐ ๑๒ ประการสิ้นเพียงนี้



๕ ปุน จปรํ ในลำดับนี้จะกล่าวด้วยสรรพคุณแห่งเทียนทั้งหลาย อันมีคุณแก่สัตว์ต่างๆ ดังนี้ (๑) เทียนดำนั้นแก้ลม อันบังเกิดแต่กองสมุฏฐาน ทำลายเสมหะอันผูกเปนก้อนอยู่ในท้อง แลแก้โลหิตให้บริบูรณ์ (๒) เทียนแดงนั้น แก้ซึ่งเสมหะลมดีระคนกันซึ่งเรียกว่าสันนิบาต แก้ลมอันเสียดแทงในลำไส้แลลมคลื่นเหียน (๓) เทียนขาวนั้นรู้แก้ลมทั้งปวง ทำลายเสียซึ่งเสมหะอันผูก แก้นิ่วแลมุตกิด (๔) เทียนตาตั๊กแตนนั้น แก้ธาตุแลทำลายเสียซึ่งเสมหะโลหิตกำเดาอันพิการให้บริบูรณ์ (๕) เทียนแกลบนั้น แก้เสมหะแลตัวพยาธิ์ แลกระจายเสียซึ่งพรรดึกอันผูก (๖) เทียนเยาวพาณีนั้น แก้เสมหะอันกระจาย ทำลายเสียซึ่งลมอันลั่นอยู่ในท้อง แลลมอันให้คลื่นเหียนแลให้จุกเสียด แก้ลมอันปวดป่วนอยู่รอบขอบสะดือ (๗) เทียนข้าวเปลือกนั้น ทำลายซึ่งลมอันระคนกันกับเสมหะ, แก้ลมในกองอัมพฤกษ์แลสุมนา แก้ลมสัตถกวาต ให้ระส่ำระสาย แก้ลมอันบังเกิดแต่กองปิตตสมุฏฐานกระทำให้คลั่ง (๘) เทียนตากบนั้นแก้อสุรินทญาณธาตุ ทำลายเสียซึ่งสมุฏฐานอันกำเริบหย่อนพิการตามในมหาพิกัด ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัยโน้น (๙) เทียนลวดนั้น แก้ปิตตสมุฏฐานกำเริบแลแก้กำเดาให้บริบูรณ์ บำรุงผิวพรรณให้สดชื่น (๑๐) เทียนสัตตบุษย์นั้น แก้ลมในครรภ์รักษา แก้พิษอันระส่ำระสาย แก้ไข้จับให้หอบแลสะอึก (๑๑) เทียนขมนั้น แก้พัทธปิตตะ คือดีล้นซึมรั่วแลพลุ่ง แลแก้ลมในกองบาดทะจิต บำรุงหทัยวาตแลสัตถกวาต กล่าวสังเขปคุณแห่งเทียน ๑๑ ประการสิ้นแต่เพียงนี้



๖ ปุน จปรํ ในลำดับนี้จะกล่าวด้วยสรรพคุณนัยหนึ่งใหม่ อันมีคุณต่างๆกันดังนี้ (๑) จะกล่าวคุณแห่งกานพลู นั้นกระจายเสียซึ่งเสมหะอันข้น แก้เสมหะอันบังเกิดในกองโลหิตแลดี แก้รัตตะปิตตะโรคแก้หืด แลกระทำให้อาหารงวด (๒) ผลจันทน์นั้นแก้ลมอันบังเกิดในกองเสมหะอันผูก, ทำลายเสียซึ่งลมอันผูกทวารไว้ให้มั่นกระทำอาหารเก่าใหม่ให้แน่นเข้า (๓) กระวาน นั้นใบ, กระทำให้วาโยเดินลงเบื้องต่ำ แลแก้ไข้อันเหงาง่วง แก้เสมหะ ผล, นั้นกระจายซึ่งเสมหะแลวาโยแลโลหิต ดอก, แก้โรคอันบังเกิดในจักษุอันเปื่อยเน่า เปลือก, แก้ไข้อันเปนอชินโรคแลอชินธาตุ กะพี้, ตั้งซึ่งโรคแต่ผิวหนัง แก่น, กระจายเสียซึ่งพิษทั้งปวง ราก, สังหารเสียซึ่งโลหิตอันเน่าเปนก้อนอยู่ในอุทรนั้นให้ตก (๔) เร่วน้อย นั้น ต้น, แก้ไข้อันบังเกิดแต่ดี ใบ, แก้ปัสสาวะให้เดินสะดวก ดอก, แก้ไข้อันเปนผื่นขึ้นทั้งตัว ผล, แก้ริดสีดวงไอหืด แลเสมหะ แลแก้พิษอันบังเกิดในกองมุตกิด แลมุตคาด ราก, แก้หืด (๕) เร่วใหญ่นั้น ผล, แก้เสมหะอันบังเกิดแต่ดี แก้ริดสีดวงงอกในทวารทั้ง ๙ ต้น, แก้คลื่นเหียน ใบ, แก้ทุลาวะสา ๑๒ ประการ ดอก, แก้พิษอันเปนเม็ดพรึงไปทั้งตัว ราก, แก้มองคร่อ แลหืดไอ (๖) อบเชยนั้น แก้ลมอัมพฤกษ์ ปลุกธาตุอันดับให้เจริญขึ้น แก้เสมหะอันบังเกิดในกองสันนิบาต (๗) ชะเอม นั้น ใบ, แก้โลหิตให้ตก ผล, ทำให้เสมหะงวด ดอก, แก้ดีแลโลหิต เครือ, แก้โรคในคอแลแก้รัตตะปิตตะ (๘) ชะเอมเทศ นั้น ใบ, กระทำให้เสมหะแห้งแลแก้ดี ดอก, แก้สรรพพิษฝีทั้งปวง ต้น, กระจายลมอันพัดขึ้นเบื้องบน ราก, แก้โลหิตอันเน่าในอุทร แลเจริญซึ่งหทัยวาตให้สดชื่น แก้กำเดาให้เปนปรกติ



๗ ปุน จปรํ ลำดับนี้จะกล่าวสรรพคุณต่อไป ผลผักชีนั้น มีรสอันขม ฝาด แลหวาน แก้ไข้อันบังเกิดแต่ทรวงเจริญอภิญญาณธาตุ แก้สะอึกแลระหายน้ำ แก้คลื่นเหียนแลแก้โรคอันบังเกิดแต่ตา ขมิ้นชัน นั้น แก้ไข้อันบังเกิดแต่ดี ชำระโรคอันบังเกิดตามผิวหนัง ระงับแตโชธาตุให้ดับ แก้เสมหะทำให้ฟกบวมแลแก้บาดแผล ขมิ้นเครือ นั้น ใบ, แก้โลหิตเน่าให้ตก ดอก, แก้บิดแลมูกเลือด ต้น, กระจายลมอันบังเกิดแต่ดี แก้เสมหะแลไข้ตรีโทษ ราก, ขับลมอัมพฤกษ์ให้ตก ดองดึงนั้นแก้โรคเรื้อน มะเรง แลคชราช แลบาดแผล แลสังหารลมอันผูก มหาหิงคุ์นั้น แก้พรรดึก แลแก้ลมเสียดแทงแก้อชินโรคทั้ง ๔ ประการ กระทำให้อาหารงวดเจริญธาตุอันเปนมลทินให้ผ่องแผ้ว ชำระเสมหะแลลม การบูร นั้น กระทำให้อาหารงวด แก้ลมคูถทวารให้เปิด ทำลายเสมหะ ชะมดนั้นแก้อภิญญาณโรค แก้โลหิตอันกระทำให้ร้อนแลแก้โลหิตอันตั้งอยู่รอบคอบในอุทร แก้โลหิตอันตีขึ้นเบื้องบน ระงับธาตุอันกำเริบ ตั้งศรีสรรวรรณ ให้บริบูรณ์ ทำลายลม แก้แผลปวดแสบแลหืดไอพิมเสนนั้น แก้โรคอันบังเกิดแต่นาสิก แลกระจายลมทั้งปวง มีหทัยวาตเปนต้น มีสุมนาวาตเปนที่สุด อันตั้งอยู่โดยรอบคอบแห่งสมุฏฐาน น้ำประสานทองจีน นั้น แก้ริดสีดวงอันบังเกิดแต่นาสิก แก้เสมหะอันผูกในอุทร น้ำประสานทองเทศ นั้น แก้โรคอันบังเกิดแต่ลำคอ แก้ไข้อันผอมเหลือง แก้ริดสีดวง ๒ จำพวก คือ บังเกิดในจักษุแลทวารหนัก แก้ฟกบวมแลแก้ลม อัณฑพฤกแก้หืดไอแลมองคร่อ



๘ ปุน จปรํ ลำดับนี้จะกล่าวสรรพคุณต่อไป สน นั้นมีรสอันขมเผ็ด แก่น, ชุ่มไปด้วยน้ำมัน แก้ไข้อันบังเกิดแต่เสมหะแลกระจายเสียซึ่งลม กะพี้, นั้นแก้ไข้สันนิบาต ดอกคำ นั้นแก้โรคตามผิวหนัง แลแก้อภิญญาณโรค กระทำให้โลหิตบริบูรณ์งาม จันทน์ขาว นั้น มีรสอันขมหวาน กระทำให้เกิดปัญญาแล ราษี แก้ไข้อันเกิดแต่ตับแลดี แก้กระหายน้ำ จันทน์แดง นั้น มีรสอันขมเย็น แก้ไข้อันบังเกิดแต่ทรวงแลดีกระทำให้ชื่นใจ แก้ไข้รัตตะปิตตะแลแก้บาดแผล เปราะหอมแดง นั้น ใบ, แก้เกลื้อนช้าง ดอก, แก้โรคอันบังเกิดแต่จักษุ ต้น, แก้ลมในอุทรซึ่งกระทำให้ท้องขึ้น หัว, แก้บุพโพโลหิตให้ตก แก้ลมอังคาพยพ แก้โรคซึ่งทำให้ตัวเปนผื่นพรึงแลแก้ไอ แก้พิษในทรวงแลแก้บาดแผล เปราะหอมขาว นั้น ใบ, แก้ฝีให้ตก ดอก, แก้กุมารโรคสะดุ้งร้องไห้แลเหลือกตาแลดูหลังคา ต้น, แก้โลหิตเน่าให้ตก หัว, กระจายโลหิตอันประกอบไปด้วยลมอันมีพิษ ชลูดแดง นั้น ใบ, กระจายโลหิต ราก, สังหารเสียซึ่งอภิญญาณโรค แก้รัตตะปิตตะอันบังเกิด แต่เหตุด้วยดีเปนต้น ชลูดขาว นั้น ใบ, แก้ไข้จับ ผล, แก้ไข้อันกำเริบ ดอก, แก้ไข้อันหาสติมิได้ แลแก้ลมอุทธังคมาวาต ราก, แก้ลมหทัยวาต แก้เสมหะแลไข้พิษ สมี นั้น ใบ, แก้สิวขึ้นหน้า แก้ไข้อันบังเกิดแต่ตับ ผล, ขับเสมหะให้สำรอกเสีย ดอก, แก้โลหิตสตรีอันมีครรภ์ เปลือก, แก้แม่พยาธิ์คือเกลื้อนใหญ่แลเกลื้อนน้อย ไส้, แก้พยาธิ์ให้ออกจากอุทร ราก, แก้สันนิบาตลงโลหิตออกมา ต้นตีนเป็ดน้ำ นั้น ใบ, ฆ่าพยาธิ์คือขี้กลาก ดอก, แก้ริดสีดวงทางทวาร ผล, แก้ผมหงอก เปลือก, แก้นิ่ว แก่น, กระจายลมอัณฑพฤก ราก, แก้เสมหะให้ตก



๙ ปุน จปรํ ลำดับนี้จะกล่าวด้วยสรรพคุณนัยหนึ่งใหม่สืบต่อไป ไม้เท้ายายม่อม นั้น แก้พิษเสมหะโดยรอบคอบ แลแก้สรรพพิษทั้งปวง ครอบทั้งสาม นั้น มีคุณดุจกัน ต้น, ตั้งไว้ซึ่งโลหิตแลลม ดอก, ชำระในลำไส้ให้บริสุทธิ์ ใบ, กระทำให้บุพโพตกออกมา ราก, แก้ลมแลดีกระทำให้เปนปรกติแห่งธาตุ เจริญสุคติธาตุแก้มุตกิด แลแก้ไอ แก้ไข้ผอมเหลืองแลเจริญอายุ ข่าใหญ่ นั้น หัว, ขับลมให้กระจาย แก้ฟกบวมแลแก้พิษ แก้บิดอันตกโลหิต ใบ, แก้ตัวพยาธิ์คือกลาก ดอก, แก้เกลื้อนใหญ่แลน้อย ข่าลิง นั้น ต้น, แก้พิษฝีดาษ ใบ, แก้พยาธิ์คือเกลื้อนใหญ่แลน้อย ดอก, แก้พยาธิ์ในอุทรให้ตก ราก, แก้ฝี หัว, แก้โรคสำหรับบุรุษ กะทือนั้น ต้น, แก้ไข้อันกระทำให้เบื่ออาหาร ใบ, แก้โลหิตอยู่ไฟให้ตก ดอก, แก้ไข้อันผมเหลือง ราก, แก้ไข้อันร้อนกระทำให้เย็น หัว, ตั้งน้ำนมแห่งสตรีให้บริบูรณ์ขึ้น แก้ปวดมวนในอุทร ไพล นั้น ต้น, แก้อุจจาระอันประกอบไปด้วยอุปัทวะ ใบ, แก้ไข้อันเมื่อยขบ ดอก, กระจายโลหิตอันบังเกิดแต่อภิญญาณธาตุ ราก, แก้โรคอันบังเกิดแต่โลหิตออกทางปากแลจมูก หัว, ขับโลหิตร้ายให้ตกเสีย กระชาย นั้น มีรสอันเผ็ดร้อนขม แก้โรคอันเกิดในปาก แลแก้มุตกิด แลลมอันบังเกิดแต่กองหทัยวาต หอม นั้น มีรสอันหวานเค็ม เลือก แก้ไข้หวัดแลไข้อันผูกเปนเจ้าเรือนแลแก้ไข้ อันบังเกิดแต่อชินธาตุ ๔ ประการ หัว, มีรสอันหวานเผ็ด แก้ไข้อันเกิดแต่ทรวง กระทำให้ผมดก แลให้มีศรีสรรวรรณงาม กระทำให้อาหารงวด แก้ไข้สันนิบาตแลไข้อันบังเกิดแต่จักษุกระทำให้เสมหะตก แก้โรคในปากแลบำรุงธาตุ กระเทียม นั้น หัวแก้เสมหะแลลม แก้เกลื้อนกลาก ใบ, กระทำให้เสมหะแห้ง แลกระจายโลหิต แลแก้ลมอันปวดมวน



๑๐ ปุน จปรํ ลำดับนี้จะว่าด้วยสรรพคุณนัยหนึ่งใหม่ต่อไป อันว่าคุณแห่ง กุ่มบก นั้น ใบ, แก้ลมแลฆ่าแม่พยาธิ์ กล่าวคือ ตะมอย แก้เกลื้อนอันบังเกิดขึ้นที่หน้า เปลือก, แก้นิ่วแลลมอันกระทำให้เย็นในท้อง แก่น, แก้ริดสีดวงผอมเหลือง ราก, แก้มานกษัย อันบังเกิดแต่กองลม กุ่มน้ำ นั้น ใบ, กระทำให้เหงื่อซ่านออกมา ดอก, แก้เจ็บในลำคอ ผล, แก้ไข้อันกระทำให้หนาวแลร้อน เปลือก, แก้สอึก แลแก้ลมให้เร็วขึ้นเบื้องบน แก่น, แก้ปะระเมหะ คือนิ่วเปนต้น ราก, ทำลายบุพโพอันผูกเปนก้อน คนทีสอขาว นั้น ใบ, ตั้งตรีสมุฏฐานให้เปนปรกติแก้ลมแลแม่พยาธิ์แลแก้สาบสางในกาย ดอก, แก้ไข้อันบังเกิดแต่ทรวง ผล, แก้พยาธิ์แลหืดไอ แลไข้ในครรภรักษา เปลือก, แก้ไข้อันกระทำให้เย็นแลแก้คลื่นเหียน แก้หญิงระดูพิการแลตั้งโลหิต ราก,แก้ไข้อันกระทำให้ร้อน คนทีสอดำนั้น เปลือก, แก้ไข้ฟกบวมแลแก้ริดสีดวง แก้ลมเสียดแทงแลแก้พยาธิ์ ใบ, แก้เสมหะแลโลหิต ขับลมให้กระจายแลฆ่าแม่พยาธิ์ทั้งคชราชแลบำรุงธาตุให้ปรกติ ราก, กระจายลมอันเกิดแต่กองเสมหะ แก้เหงื่ออันแห้งให้ตกออกมา รักขาวนั้น มีรสอันจืด ใบ, แก้ริดสีดวงทวารแลคชราช ยาง, แก้ริดสีดวงในลำไส้ ดอก, แก้แม่พยาธิ์คือกลากเกลื้อน ผล, แก้รังแคต้น, บำรุงอากาศธาตุ ๙ ประการให้บริบูรณ์ ราก, แก้มูกเลือดแลไข้เลือด หญ้าพันงู นั้น ต้น, แก้ทางปัสสาวะอันขัดขัง ใบ, แก้โรคในลำคอดุจหนามก้านบัว ดอก, แก้เสมหะในท้อง ผล, ทำลายเม็ดนิ่วให้ตก ราก, แก้นิ่ว ๒๐ ประการ มะไฟเดือน ๕ นั้น ต้น, บำรุงธาตุแลกระทำอาหารให้งวด ใบ, แก้แม่พยาธิ์คือเกลื้อน กลาก ขี้เรื้อนกุฏฐัง แลไส้เดือนในท้อง ผล, กระทำให้โลหิตที่เสียในท้องให้ตก ราก, ทำลายโลหิตเบื้องบนให้ตก



๑๑ ปุน จปรํ ลำดับนี้จะกล่าวด้วยสรรพคุณ นัยหนึ่งสืบไป กะเม็งนั้น ต้น, ขับลมให้กระจาย แก้โลหิตอันกระทำให้ร้อน ดอก, แก้ดีอันฟุ้งซ่านให้บริบูรณ์ ผล, แก้ลมอันเปนพิษให้ถอย ราก, แก้ลมวิงเวียนแก้ปวดในท้อง ว่านหางช้าง นั้น ต้น, แก้คุณอันบุคคลกระทำด้วยหนัง ใบ, แก้คุณ อันบุคคลกระทำด้วยเนื้อ ดอก, แก้คุณอันบุคคลกระทำด้วยผม ราก, แก้คุณอันบุคคลกระทำด้วยกระดูก ทองหลางใบมนนั้น ใบ, แก้ลมแก้ริดสีดวง แก้ไส้เลื่อนในท้อง ดอก, แก้โลหิตให้ตก ผล, บำรุงซึ่งดี เปลือก, แก้ววาโยโลหิตแลเสมหะให้ตก แก่น, แก้พิษฝี ราก, แก้สรรพพิษทั้งปวง คัดเค้านั้น ใบ, แก้โลหิตซ่าน ดอก, แก้โลหิตในกองกำเดา ผล, แก้โลหิตอันเน่าให้ตก ต้น, แก้โลหิตอันร้อนให้บริบูรณ์ ราก, แก้รัตตะปิตตะโรคนมพิจิตรนั้น ใบ, แก้สรรพพิษทั้งปวง มีพิษไข้เปนต้นมีพิษลมเปนที่สุด ดอก, แก้ลมอันมีพิษ ผล, ทำลายบุพโพให้แตกออก ราก, แก้ลมอันกระทำให้คลื่นเหียน กกลังกา นั้น ต้น, ทำลายดีอันผูกไว้ซึ่งพิษ ใบ, ฆ่าแม่พยาธิ์ทั้งปวง ดอก, แก้โรคในปาก ราก, กระทำให้โลหิตในท้องตกเสีย หัว, เจริญอภิญญาณธาตุแลอสุรินทญาณธาตุ สมุฏฐานพิกัตกระทำให้อาหารงวด กระทำเสมหะอันเฟื่องให้สงบลง สะเดา นั้น มีรสอันขมฝาดเย็น ใบ, กระทำให้ระมัดในท้อง บำรุงเพลิงธาตุกระทำให้อาหารงวด ดอก, แก้พิษโลหิตอันบังเกิดแต่กำเดา แก้ริดสีดวงในลำคอให้คันดุจตัวพยาธิ์ไต่อยู่ ผล, แก้ลมหทัยวาตแล ลมสัตถกวาตแลลมอันบังเกิดแต่กองปิตตสมุฏฐาน เปลือก, แก้บิดแลมูกเลือด กะพี้, แก้ดีแก้บ้าอันเพ้อคลั่ง แก่น, แก้ลมอันกระทำให้คลื่นเหียนอาเจียนแลลมอันผูกกลัดทวาร ราก, แก้เสมหะอันเปนสนับ อยู่ภายในท้อง แลแก้เสมหะอันติดอยู่ในลำคอให้ตก



๑๒ ปุน จปรํ ลำดับนี้จะกล่าวด้วยสรรพคุณนัยหนึ่งใหม่สืบไป พิลังกาสานั้น มีรสอันขมร้อน ใบ, แก้โรคอันบังเกิดแต่ตับ ดอก, แก้โรคอันประกอบไปด้วยพยาธิ์เปนต้น ผล, แก้ไข้กองอติสารโรค ต้น, แก้โรคกุฏฐัง ราก, แก้โรคสำหรับบุรุษกล่าวคือปรเมหะ ขี้เหล็ก นั้น ใบ, แก้มุตกิด ดอก, แก้โลหิต แก้นอนไม่หลับ แก้รังแค เปลือก, แก้ริดสีดวง กะพี้, แก้โลหิตอันกระทำให้ระส่ำระสาย แก่น, แก้ลมอันกระทำให้เย็นทั่วทั้งกาย แลแก้พยาธิ์ในท้องให้ตก ไส้, แก้โลหิตอันขึ้นเบื้องบน แลแก้โลหิตอันกระทำให้ระส่ำระสายในท้อง แก้โลหิตอันกระทำให้แสบในจักษุทวาร ราก, แก้ไข้อันกระทำให้หนาวแลแก้โรคอันเปนชินธาตุ หญ้าตีนนกนั้น แก้ไข้อันกระทำให้ร้อนระหายน้ำเปนเพื่อดีแห้ง ชะมดต้นนั้น ใบ, แก้พยาธิ์คือกลากเกลื้อน ดอก, แก้พยาธิ์คือไส้เดือนในท้องให้ตก ผล, พอกพยาธิโรคคือพิษฝีให้บุพโพพลันแตก เปลือก, ฆ่าแมลงคาเข้าหู กะพี้, แก้เกลื้อนช้าง แก่น, แก้ซึ่งแม่พยาธิ์กล่าวคือขี้เรื้อนใหญ่ขี้เรื้อนกวาง แลขี้เรื้อนน้ำเต้า ราก, แก้แม่พยาธิ์อันเกิดตามขุมขนแลรากผม รู้ห้าม รังแคมิให้บังเกิด ส้มป่อยนั้น ต้น, แก้น้ำตาพิการ ใบ, แก้โรคอันบังเกิดแต่ตาชำระโรคในลำไส้น้อยแลไส้ใหญ่ ดอก, นั้นแก้เอ็นอันวิปริตต่างๆให้บริบูรณ์ ผล, แก้ปากกุมารอันเปนเพื่อไข้ ชำระเสมหะอันเหนียว ราก, แก้ไข้อันกระทำให้ร้อนแลเย็น ราชพฤกษ์ นั้น ใบ, ฆ่าแม่พยาธิ์ทั้งปวง ดอก, แก้บาดแผลอันเรื้อรังมิได้หาย ฝัก, แก้เสมหะให้ตกแลแก้พรรดึก เปลือก, แก้เนื้อแลหนังให้ตั้งมั่นบริบูรณ์ กะพี้ , ฆ่าแม่รำมะนาด แก่น, แก้ไส้เดือนในท้องให้ตก ราก, ฆ่าแม่พยาธิ์คือคชราชนั้นให้ตาย แก้ไข้จับ



๑๓ ปุน จปรํ ลำดับนี้จะกล่าวด้วยสรรพคุณนัยหนึ่งใหม่ต่อไป อันว่าคุณแห่งตีนเป็ดต้น นั้น ใบ, แก้ไข้หวัด ดอก, แก้ไข้เพื่อโลหิต ผล, แก้ไข้เพื่อเสมหะ เปลือก, แก้ไข้เพื่อดี ต้น, แก้อภิญญาณธาตุแลแก้โลหิตพิการให้ตก ราก, ขับลมให้กระจายชุมเห็ดไทย นั้น แก้ไข้เพื่อวาโยแลเสมหะ แก้หืดแลคชราช ผล, แก้ฟกบวม ชุมเห็ดเทศ นั้น ใบ, ฆ่าพยาธิ์อันเดินตามผิวหนัง ดอก, กระทำให้ผิวหนังบริบูรณ์งามดีมีสีมีใย ผล, แก้พยาธิ์ในท้องให้ทำลาย ต้น, แก้คชราชแลเกลื้อนกลากทั้งปวง ราก, แก้หิดแลสิวอันบังเกิดในผิวหนัง บวบขม นั้น แก้ริดสีดวงงอกแลหืด ชำระเสมหะ ผักปลัง นั้น เถาแก้พิษฝีดาษ ใบ, แก้กลาก ดอก, แก้เกลื้อน ราก, แก้มือด่างเท้าด่างแลรังแค ผล, แก้พิษทั้งปวงมีพิษฝีเปนต้น หญ้าแพรก นั้น แก้สรรพพิษอันกระทำให้คันแลร้อน แก้รัตตะปิตตะโรคแลแก้ฝีดาษ ฝางเสน นั้น แก้ลมแลแก้เสมหะแลดี แลทำลายโลหิตอันมิได้บริสุทธิ์นั้นให้บริบูรณ์ เสนียดนั้น ใบ, แก้แผลในลำคอแลแก้คอเปนโรคดุจหนามก้านบัว แก้แม่พยาธิ์ในไรฟัน ห้ามเสียซึ่งรัตตะปิตตะโรคแลไข้จับ แก้คชราชแลฟกบวม กระทำผิวหนังให้ผ่องใส โคกกระออมนั้น เถา, แก้ไข้จับ ใบ, แก้หืดแลไอ ดอก, แก้โลหิตในท้องให้ตก ผล, แก้จตุรการเตโชให้บริบูรณ์ ราก, แก้ตาอันเปนต้อ แลแก้พิษงูเห่า ผลมะตูมอ่อนนั้น แก้วาโยโลหิต แลเสมหะ แลบุพโพอันเน่าในท้องให้ตกเสีย แลแก้สมุฏฐานแห่งตรีโทษ มะตูมแก่ นั้น แก้เสมหะแลลมบำรุงซึ่งสุคติธาตุให้บังเกิด แลกระทำให้อัคนีผลเจริญขึ้น กระทำอาหารในท้องให้งวด อันว่าผลแห่งมะตูมสุก นั้น แก้ลมอันเสียดในท้อง แก้มูกเลือด แลบำรุงซึ่งจตุรการเตโชกระทำให้อาหารงวด แก้ระหายน้ำเพื่ออนุโลมตามวาโยธาตุนั้นดุจกล่าวไว้นี้



๑๔ ปุน จปรํ ลำดับนี้จะกล่าวด้วยสรรพคุณนัยหนึ่งใหม่ต่อไป อันว่าคุณแห่งผักโหมหินแลผักโหมหัด นั้น ต้น, แก้ลมอันผูกเปนก้อนแลลมให้เรอ ใบ, แก้เสมหะแลดี ดอก, แก้โลหิตอภิญญาณให้ตั้งอยู่เปนปรกติ ราก, แก้ลมอัมพฤกษ์ให้ตกแก้ริดสีดวงงอกทวารแลแก้เสมหะ รากจิงจ้อ นั้น แก้เสมหะลมแลดี กระทำให้อาหารงวด ประหารเตโชอันกล้าให้ถอยลง ตองแตก นั้นมีรสจืด แก้โรคอันบังเกิดแต่แม่พยาธิ์ แก้เสมหะแลฟกบวม ทำลายอุจจาระอันกล้าให้ตก ทนดี นั้น แก้โรคอันบังเกิดแต่ลมแลเสมหะ แก้โรคในกองปรเมหะ ๒๐ ประการให้ถอยดับเตโชธาตุแลกระทำอุจจาระมิให้ผูกเข้าได้ สหัสคุณไทย นั้น ต้น, แก้ลมภายในให้กระจาย ผล, แก้คุณอันกระทำด้วยผมให้ตกเสีย ดอก, แก้เสมหะให้ตก ราก, แก้โลหิตอันข้นด้วยบุพโพ ใบ, แก้ลมอันเสียดแทงยอกในข้อ แก้ไข้อันผอมเหลืองแลหืดไอ สหัสคุณเทศ นั้น ใบ, แก้ลมอันผูกเปนก้อนให้กระจาย ดอก, แก้แม่พยาธิ์ทั้งปวง ผล, ฆ่าเสียซึ่งพยาธิ์อันบังเกิดแต่ไส้ด้วนไส้ลาม เปลือก, แก้โลหิตในลำคอแลลำไส้ให้กระจาย กะพี้แลแก่นนั้น แก้โลหิตในลำไส้ ราก, แก้ริดสีดวง สลอด นั้น ใบ, แก้ตะมอยแลแก้ไส้ด้วนไส้ลาม ดอก, ฆ่าแม่พยาธิ์อันบังเกิด แต่กลากแลคชธาร ผล, แก้ลมอัมพฤกษ์ ดับเตโชมิให้เจริญ เปลือก, แก้เสมหะอันคั่งอยู่ในลำคอแลทรวงอก รากแลไส้นั้นแก้โรคเรื้อนแลกุฏฐัง แลแก้ริดสีดวงอันผอมเหลือง ดุจกล่าวมานี้



๑๕ ปุน จปรํ ในลำดับนี้จะกล่าวด้วยสรรพคุณนัยหนึ่งใหม่ต่อไป อันว่าคุณแห่งแตงหนูนั้น ต้น, แก้เสมหะให้ตก ใบ, แก้ไข้จับอันกระทำให้สะท้านหนาว ดอก, แก้พิษโลหิตอันเน่าให้ตก ผล, แก้ไข้จับให้สะท้านร้อน ราก, แก้ขัดปัสสาวะแลแก้ลมแก้เสมหะแลคชราช ชิงชี่นั้น ต้น, แก้บวม ดอก, แก้โรคมะเร็ง ผล, แก้โรคอันบังเกิดในลำคอ ราก, แก้โรคในท้องแลแก้ลมภายในให้ซ่านออกมา บอระเพ็ดแลชิงช้าชาลี นั้น มีคุณดุจเดียวกัน ต้น, แก้พิษฝีดาษ แลแก้ไข้เหนืออันบังเกิดเพื่อโลหิต แก้ฝีกาฬอันบังเกิดเพื่อฝีดาษ แก้ไข้ตรีโทษแลกระทำให้เกิดกำลัง เจริญ เพลิงธาตุให้บริบูรณ์ แก้กระหายน้ำอันเปนเพื่อโลหิตแลลม แก้สะอึกแลสมุฏฐานกำเริบ ใบ, ฆ่าแม่พยาธิ์ในท้องแลในฟันแลหูให้ตก ผล, แก้เสมหะอันเปนพิษ ราก, แก้โลหิตอันเปนพิษไข้เหนือแลไข้สันนิบาต บอระเพ็ดพงช้าง นั้น ต้น, แก้ลมแน่นในทรวงให้กระจาย ใบ, บำรุงซึ่งไฟธาตุ ดอก, ฆ่าแม่พยาธิ์อันบังเกิดแต่โรคเรื้อนแลกุฏฐัง ผล, กระทำให้อาหารงวด หนาม, แก้โลหิตอันเน่าในท้องให้ตก หัว, แก้เสมหะในคอแลทรวงอกให้เปนปรกติ ผักปอดตัวเมียนั้น ต้น, แก้ไข้สตรีอันอยู่ในเรือนไฟ ใบ, แก้เหงื่ออันบุคคลเปนท้องมานให้ตก ดอก, แก้ริดสีดวงอันเปนเพื่อโลหิต ราก, แก้ไข้จับอันกระทำให้ร้อน ผักปอดตัวผู้นั้น ต้น, แก้โลหิตพิการ ใบ, แก้ลมให้ตก ดอก, แก้ไข้อันกระทำให้หนาว ราก, แก้ลมแลโลหิตให้กระจาย พลูแก นั้น ต้น, ฆ่าแม่พยาธิ์ภายในอันเกิดแต่ริดสีดวง ใบ, ฆ่าแม่พยาธิ์ภายนอกอันบังเกิดแต่ผิวหนัง ดอก, แก้โรคอันเกิดแต่จักษุ ราก, แก้โลหิตอันระคนด้วยลมให้ตกแลต้น, ใบ, ดอก, ราก, ทั้ง ๔ นี้ ระคนกัน ต้มให้กินแก้โรคเรื้อนใหญ่แลน้อย แก้คชราช มะเร็ง กลาก เกลื้อน หิด สิว อันบังเกิดขึ้นนั้นหาย



๑๖ ปุน จปรํ ในลำดับนี้จะกล่าวด้วยสรรพคุณ นัยหนึ่งใหม่สืบต่อไป อันว่าคุณแห่งยาข้าวเย็นโคกแดงนั้น ต้น, แก้อชินโรค ๔ ประการ ใบ, แก้ไข้เหนือแลสันนิบาต ดอก, แก้พิษงูเห่า ผล, แก้ลมแลริดสีดวง หัวแลราก, แก้พยาธิ์ในท้อง ยาข้าวเย็นโคกขาว นั้น ต้น, แก้พิษงูดิน มีรูปดังเฉลน ใบ, แก้ฟกบวม ดอก, แก้มะเร็งแลคชราช ผล, แก้อัณฑะอุ้ง รากแลหัว, แก้คุณผี ผักเสี้ยนผี นั้น ต้น, กระจายบุพโพอันผูกเปนก้อนให้ตก ใบ, แก้ทุราวสา ๑๒ ประการ ดอก, ทำลายเสียซึ่งกิมิชาติ ผล, ฆ่าพยาธิ์ให้ตาย ราก, แก้วรรณโรคแห่งสตรีอันอยู่ไฟมิได้ ผักเสี้ยนไทย นั้น ต้น, แก้โลหิตอันเน่ากระทำให้ จับสะท้าน ดอก, แก้โลหิตแห่งสตรีอันอยู่ในเรือนไฟ ผล, ฆ่าไส้เดือนในท้องให้ตาย ใบ, บำรุงเสมหะให้เปนปรกติ ราก, แก้ลมอันเปนพิษ กระเบียนกระเบา นั้น ใบ, แก้บาดแผลอันถูกหอกดาบ ดอก, ฆ่าแม่พยาธิ์อันเกิดแต่เกลื้อนแลกลาก ผล, แก้มะเร็งแลคชราชโรคเรื้อนแลกุฏฐัง เปลือก, แก้ริดสีดวง แก่น, แก้เสมหะให้ตก ราก, แก้เสมหะอันมีพิษเน่าให้ไหลออกมา สลอดน้ำ นั้น ใบ, บำรุงเนื้อแลหนังให้ตั้งมั่นเปนปรกติ ดอก, แก้ริดสีดวงในจมูก แก้ปวดหัวแลโรคอันเกิดแต่ตา ผล, แก้ลมสันดาน เปล้าใหญ่ นั้น ใบ, แก้ธาตุให้บริบูรณ์ ดอก, ฆ่าแม่พยาธิ์ทั้งปวง ผล, แก้ไข้สตรีอันอยู่ในเรือนไฟ เปลือก, แก้เสมหะให้ตก แก่น, กระทำให้อาหารงวด แก้ลมอันผูกเปนก้อนให้กระจาย ราก, แก้โลหิตในท้องให้ตก เปล้าน้อย นั้น ใบ, กระทำธาตุให้ตั้งมั่น ดอก, ฆ่าแม่พยาธิ์ ผล, แก้บุพโพให้กระจาย เปลือก, กระทำให้อาหารงวด แก่น, แก้โลหิตให้ตก ราก, แก้ลมเบื้องบนให้เปนปรกติ



๑๗ ปุน จปรํ ในลำดับนี้ จะกล่าวด้วยสรรพคุณนัยหนึ่งใหม่สืบต่อไป อันว่าคุณแห่งโมกหลวง นั้น ใบ, แก้ไส้เดือนในท้องให้ตก ผล, แก้วรรณโรคแห่งสตรีอันอยู่ในเรือนไฟ เมล็ดใน นั้น แก้ไข้อันเกิดเพื่ออติสารโรคแลวาโยโลหิต เปลือก, แก้ไข้จับอันเปนเพื่อลม เลือด เสลด กระพี้, แก้โลหิตให้เปนปรกติ แก่น, ฆ่าแม่พยาธิ์อันบังเกิดแต่กลาก ราก, แก้โลหิตอันร้ายให้ตก โมกมันนั้น ใบ, แก้เหงื่อแห่งบุคคลเปนท้องมานให้ตก ดอก, ทำลายพรรดึก ผล, ฆ่าแม่พยาธิ์อันเกิดแต่ฟันให้ตาย เปลือก, ฆ่าแม่พยาธิ์อันเกิดแต่คชราช กระพี้, แก้ดีให้ตั้งเปนปรกติ แก่น, แก้เลือดร้ายอันคั่งอยู่ในท้องให้ตก ราก, แก้ลมสันดาน แคแตรแลลำไยนั้น มีคุณดุจเดียวกันแก้เสมหะแลแก้ลม รากเพกานั้น บำรุงไฟธาตุมิให้ดับ แลแก้ไข้สันนิบาต รากคัดริ้นนั้น สีรสอันร้อนยิ่งนัก มิได้ชอบโรคอันบังเกิดแต่ดีเดือด ชอบแต่แก้เส้น รากมะตูมนั้น แก้หืดหอบไอ บำบัดเสมหะแลดี แก้ไข้ให้ร้อนแลแก้อชินโรค แก้ลมอันแน่นอยู่ในทรวงแลยอกเสียดเกลียวข้างทั้งสอง แก้มุตกิดแลมุตคาด



จะกล่าวสรรพคุณอันประมวนเข้ากันไว้ให้พึงรู้ คือรากแคแตร รากลำไย รากเพกา รากคัดริ้น รากมะตูม ทั้ง ๕ สิ่งนี้ อาจารย์ท่านจัดไว้ ชื่อว่าเบญจมูลใหญ่ แก้ในกองธาตุแลสมุฏฐาน แก้อติสารวรรค ๑๑ ประการ แลแก้บุพรูปอติสาร อันบังเกิดเพื่อเสลด แลดี แลลม แก้อชินโรคอติสารแลอุจจาระวิปริตในสมุฏฐานโทษ ซึ่งกล่าวมานี้แจ้งอยู่ในคัมภีร์อติสารวรรค จลณะสังคหะ แลคัมภีร์ทิพยมาลาโน้นเสร็จแล้ว อันว่าคุณแห่งเบญจมูลนี้ แก้โรคอันทำให้สะอึก แก้โรคผอมเหลือง แลแก้ริดสีดวง แลแก้โรคนิ่ว ๒๐ ประการ ทุราวสา ๑๒ ประการ แก้ในกองกาฬ สันนิบาต ๕ ประการ แก้ไข้อันมีพิษ ๓๐ ประการ แก้ลมอันมีพิษ ๓ ประการ ตามไนยอันอาจารย์ท่านกล่าวไว้สืบกันมา



๑๘ ปุน จปรํ ในลำดับนี้ จะกล่าวดวยสรรพคุณนัยหนึ่งใหม่สืบต่อไป ว่าด้วยคุณแห่งเกลือทั้ง ๕ คือเกลือสินเธาว์ ๑ เกลือวิก ๑ เกลือพิก ๑ เกลือฝ่อ ๑ เกลือสมุทะรี ๑ ทั้ง ๕ ประการนี้มีคุณต่างๆกัน วิธีจะทำเกลือนั้น ให้เอาเกลือธาระคือเกลือทะเล มาตำให้ละเอียดแล้วเทน้ำท่าลงพอสมควร ต้มด้วยหม้อใหญ่ให้แห้งแล้วสุมไฟแกลบจนหม้อแดงเอาไว้ให้เย็น จึงเอาเกลือนั้นมาแบ่งไว้เปน ๕ ส่วน ถ้าจะทำเกลือสินเธาว์ ให้เอาส่วน ๑ มาทำเปน ๒ ส่วน เอาน้ำนมโคเท่าส่วนเกลือส่วน ๑ ลงกวนกันให้ได้ ๓ วันให้แห้ง จึงได้ชื่อว่าเกลือสินเธาว์ ตามอาจารย์ท่านกล่าวไว้ ว่ามีคุณทำลายเสียซึ่งพรรดึก แก้ระส่ำระสายแลสมุฏฐานตรีโทษ ถ้าจะทำให้เปนเกลือวิกนั้น ให้เอาเกลือส่วน ๑ มาทำเปน ๒ ส่วน เอาเหล้าเท่าส่วนเกลือส่วน ๑ ลงกวนกันให้ได้ ๓ วันให้แห้ง จึงได้ชื่อว่าเกลือวิก ตามอาจารย์ท่านกล่าวไว้ว่า มีคุณแก้อภิญญาณธาตุ ทำลายเสียซึ่งโรคในท้องคือท้องมาน แก้ไส้พองท้องใหญ่กระทำให้กายชุ่มชื่น ถ้าจะทำให้เปนเกลือพิกนั้น ให้เอาเกลือส่วน ๑ นั้นมาทำเปน ๒ ส่วน เอาน้ำผึ้งเท่าเกลือส่วน ๑ ลงกวนกันให้ได้ ๓ วันให้แห้ง จึงได้ชื่อว่า เกลือพิก ท่านกล่าวไว้ว่ามีคุณกระทำให้เสียงเพราะให้ชุ่มในลำคอ ถ้าจะทำให้เปน เกลือฝ่อนั้น ให้เอาเกลือส่วน ๑ นั้นมาทำเปน ๒ ส่วน เอาน้ำมันงาน้ำมันเปรียงเท่าเกลือสิ่งละส่วนลงกวนให้ได้ ๓ วัน ให้แห้งจึงชื่อว่า เกลือฝ่อ อาจารย์แต่ก่อนกล่าวไว้ว่า มีคุณแก้โดยอนุโลม แล ปฏิโลม แห่งโรค แก้โรคอันเสียดแทงบำรุงไฟธาตุ แก้กุมารโรคแลแก้พรรดึก แก้มูกเลือดให้อันตรธานวิเศษนัก ถ้าจะทำให้เปนเกลือสมุทะรี ให้เอาเกลือส่วน ๑ นั้น มาทำเปน ๒ ส่วน เอาน้ำมูตรโคเท่าเกลือส่วน ๑ ลงกวนกัน ให้ได้ ๓ วันให้แห้ง จึงได้ชื่อว่า เกลือสมุทะรี ตามอาจารย์ท่านกล่าวไว้สืบๆกันมา ว่ามีคุณกระทำให้อาหารงวด แก้ระส่ำระสายเจริญธาตุทั้ง ๔ แก้พรรดึกแลแก้ดีเดือด แก้โรคอันบังเกิดแต่ตา ดุจดังกล่าวมานี้



๑๙ ปุน จปรํ ในลำดับนี้จะกล่าวด้วยวิเศษสรรพคุณนัยหนึ่งใหม่สืบต่อไป (๑) อันว่าคุณแห่งขัดมอนทั้ง ๒ อ้อยแดง อันว่ายาหมู่นี้ แก้ไข้ครรภรักษา (๒) จันทน์เทศ ขัณฑสกร หัวแห้วหมู โกฐกระดูก ว่านน้ำ ขมิ้นชัน เจตมูลเพลิง ตำแยเครือ ขิงสด อันว่ายาหมู่นี้ กระทำให้ฟกบวมยุบลง (๓) รักขาว ละหุ่ง แตงกวา เจตมูลเพลิง สังข์ รงทอง จุกโรหินี พรมมิ อันว่ายาหมู่นี้ กระทำให้อุจจาระบริสุทธ์ (๔) น้ำผึ้ง ซองแมวใหญ่ โลดทะนง ประยงค์ ผักชี ยางมะขวิด อันว่ายาหมู่นี้แก้โรคอันบังเกิดแต่กระดูก (๕) มหาหิงคุ์ พริกไทย ฝักมะขามแก่ เทียนเยาวพาณี ผลรักเทศ เบญจมูล อันกล่าวแล้วในเบื้องต้นนั้น อันว่ายาหมู่นี้เจริญไฟธาตุ (๖) จันทน์หอม บุนนาค ชะเอม แฝกหอม บัวหลวง มะกล่ำต้น อบเชย อันว่ายาหมู่นี้ แก้วรรณโรคแลบาดแผลทั้งปวงหายแล (๗) โมกหลวง กระเบียน มะตูม เจตมูลเพลิง ขิงแห้ง หัวแห้วหมู สะค้าน ตำแยเครือ ส้มป่อย เทียนสัตตบุษย์ ขมิ้นอ้อย ยาหมู่นี้แก้มูลวาตคือลมจุกเสียดแลแก้ริดสีดวงงอกในทวารหนัก (๘) แก่นตะเคียน สีเสียด มะขามป้อม ผลรักเทศ ขมิ้นอ้อย สมอ สัตตบรรณ ลั่นทม ราชพฤกษ์ พิลังกาสา มะลิลา อันว่ายาหมู่นี้แก้โรคกุฏฐัง (๙) แฝกหอม ราชพฤกษ์ จันทน์เทศ เมล็ดผักกาด หัวแห้วหมู สะเดา โมกหลวง ชะเอม สะตือ เทียนสัตตบุษย์ ขมิ้นอ้อย อันว่ายาหมู่นี้แก้หืดแลฝีทั้งปวง

20.7.53

จารึกตำรายาที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์)

จารึกตำรายาที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์) แบ่งเป็น ๔ ประเภท (หรือวิชา) ดังนี้


๑. วิชากายภาพบำบัด (ฤาษีดัดตน) ทำเป็นรูปฤาษี หล่อด้วยดีบุกผสมสังกะสี จำนวน ๘๐ ท่า มีโคลงสี่สุภาพอธิบายประกอบทุกท่า



๒. วิชาเวชศาสตร์ ว่าด้วยการศึกษาโรคภัยไข้เจ็บตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทย มีการแยกสมุฏฐานของโรค การวินิจฉัยโรค การใช้ยาบำบัดรักษาโรค รวมจำนวนยา ๑,๑๒๘ ขนาน



๓. วิชาแผนนวด หรือวิชาหัตถศาสตร์ มีภาพโครงสร้างของร่างกายมนุษย์ แสดงที่ตั้งของเส้นประสาทการนวด ๑๔ ภาพ และภาพเกี่ยวกับการนวดแก้ขัดยอกแก้เมื่อยและโรคต่างๆ อีก ๖๐ ภาพ



๔. วิชาเภสัช ว่าด้วยสรรพคุณของเครื่องสมุนไพร ที่เรียกว่า ตำราสรรพคุณยาปรากฏสรรพคุณในการบำบัดรักษา จำนวน ๑๑๓ ชนิด



ในขณะที่จารึกตำรายาที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม มีการระบุชื่อผู้เป็นเจ้าของตำรายาหรือวิชานั้นๆ ทุกขนาน แต่ในวิชาเภสัชหรือตำราสรรพคุณยากลับไม่มีชื่อเจ้าของตำรายา เมื่อนำพระคัมภีร์สรรพคุณยา  ในหนังสือ "แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์" มาเปรียบเทียบกับตำราสรรพคุณยา ฉบับของกรมหลวงวงษาธิราชสนิท (อธิบดีแพทย์กำกับกรมหมอหลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ก็จะเห็นได้ว่ามีเนื้อหาใกล้เคียงกันมาก เพียงแต่ฉบับของกรมหลวงวงษาธิราชสนิท มีรายละเอียดมากกว่าเท่านั้น



แม้ว่าพระคัมภีร์สรรพคุณ  ในหนังสือ "แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์" นั้น น่าจะเป็นคนละสำนวนกันกับตำราสรรพคุณยาฉบับวัดพระเชตุพนฯ และฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิท เพราะมีรายละเอียดต่างกัน แต่ก็มีเนื้อหาใกล้เคียงกันมาก เห็นได้ว่ามีพื้นฐานมาจากต้นฉบับเดียวกัน โดยได้มีการปรับปรุงแก้ไขและเพิ่มเติมในชั้นหลัง



พระคัมภีร์สรรพคุณ  เป็นคัมภีร์สำคัญซึ่งปรากฏอยู่ในเอกสารตำรายาหลายฉบับ เช่น ในการชำระตำรายาในปี พ.ศ.๒๔๑๓ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระคัมภีร์สรรพคุณ ก็ได้รับการพิมพ์รวมอยู่ใน "เวชศาสตร์ฉบับหลวง" และใน พ.ศ.๒๔๓๒ เมื่อมีการจัดพิมพ์คัมภีร์ "แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์" ก็ปรากฏว่าพระคัมภีร์สรรพคุณ  ได้รวมอยู่ในตำรายาเล่มนี้ด้วย ซึ่งต่อมาได้มีการจัดพิมพ์เผยแพร่อีกหลายครั้ง

ประวัติ และ ที่มาของ พระคัมภีร์สรรพคุณ

      ในปัจุบันนี้กิการด้านสมุนไพร กำลังได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย อาจเนื่องมาจากการตื่นตัวของต่างประเทศที่หันมาใช้กรรมวิธีรักษาโรคแบบดั้งเดิมมากขึ้น ภูมิรู้ด้านหมอไทยยาไทยของเรา ที่ถูกทอดทิ้งมานานร่วมร้อยปี กำลังเป็นที่หอมหวลของผู้คนมากหน้าหลายตา แต่เรายังขาดตำรับตำราที่จะมาศึกษาอีกมาก ถึงแม้นจะดูผิวเผินเห็นว่า เรื่องของยาไทยหมอไทย ไม่มีอะไรลึกซึ้งมากมาย แต่ความจริงแล้ว ภูมิรู้หลากหลายเกี่ยวกับการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์มนุษย์มีสอดแทรกอยู่ในทุกอนูของหมอไทยยาไทย

      ในการศึกษาเรื่องหมอไทยยาไทย ที่สำคัญจะขาดเสียมิได้คือ สรรพคุณสมุนไพร แต่การที่จะจดจำสรรพคุณสมุนไพรทุกทุกส่วนในแต่ละตัวเป็นเรื่องยาก ดังนั้น จึงนิยมศึกษาเฉพาะสรรพคุณของส่วนที่นิยมใช้ทำยาสมุนไพรเป็นหลักไว้แต่ก็มิได้หมายความว่า ส่วนอื่นๆที่ไม่นิยมใช้ทำยาจะไม่มีสรรพคุณในการรักษาโรค ทุกส่วนของสมุนไพรย่อมสามารถนำมาใช้เป็นยาได้ทั้งสิ้น

พระคัมภีร์สรรพคุณ  คือ ตำราที่ว่าด้วยสรรพคุณของสมุนไพรที่มีคุณค่าทางยาหรือเภสัช โดยกล่าวว่า การจะรักษาโรคอย่างไรขึ้นอยู่กับรสของสมุนไพรนั้นๆ เพราะสมุนไพรแต่ละรสจะมีสรรพคุณยาต่างกัน ดังนั้นพระคัมภีร์สรรพคุณยาจึงแยกแยะรายละเอียดของคุณค่าสมุนไพรแต่ละชนิดขณะยังสดหรือเมื่อแห้งแล้ว คือแบ่งเป็น ราก ต้น ใบ ดอก แก่น กระพี้ ยาง และผล ดังนั้นจึงเหมาะแก่การศึกษาค้นคว้าต่อไปว่า สมุนไพรแต่ละชนิดมีคุณค่าดังที่บันทึกไว้หรือไม่ ส่วนมหาพิกัต  หมายถึง การกำหนดน้ำหนักในการใช้สมุนไพรเป็นยา ซึ่งในแต่ละคนหรือแต่ละวัยจะใช้พิกัดน้ำหนักแตกต่างกัน




พระคัมภีร์สรรพคุณ ได้อ้างคัมภีร์อื่นๆ ได้แก่ คัมภีร์ปรารพภ์ธาตุบรรจบ และคัมภีร์จลนะสังคะหะ ด้วย เชื่อว่ามีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาโดยปรากฏหลักฐานอยู่ใน "ตำราพระโอสถพระนารายณ์" ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นตำรับยาที่นายแพทย์ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้ทูลเกล้าฯ ถวายแด่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช "ตำราพระโอสถพระนารายณ์" กล่าวถึงความสำคัญของสมุนไพร และกล่าวว่าผู้ที่จะมีอาชีพเป็นหมอจะต้อง "รู้จักสรรพคุณยา"



จากหลักฐานดังกล่าว จึงอาจเป็นได้ว่า พระคัมภีร์สรรพคุณ น่าจะเป็นที่รู้จักกันดีในวงการแพทย์แผนไทยแล้วตั้งแต่สมัยอยุธยา และมาปรากฏหลักฐานอย่างชัดเจนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น คือ ในศิลาจารึกตำรายาที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ซึ่งมีเนื้อหาว่าด้วยสรรพคุณยาและรายละเอียดของพืชสมุนไพรนับร้อยชนิด



วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) ได้รับการสถาปนาครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เมื่อได้สถาปนากรุงเทพมหานครเป็นนครหลวงใน พ.ศ.๒๓๒๕ แล้ว พระองค์โปรดให้จารึก "ตำรายา" และหล่อรูปฤาษีดัดตนไว้ตามศาลาราย ต่อมาใน พ.ศ.๒๓๗๕ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามขึ้นใหม่ แล้วโปรดให้พระยาบำเรอราชแพทย์ (พระโอรสของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) เป็นหัวหน้ารวบรวมตำรายาจากหมอหลวง หมอเชลยศักดิ์ (หมอราษฎร์) และหมอพระ โดยระบุว่าผู้นำตำรายามามอบให้จะต้องสาบานว่า ตัวยาขนานนั้นๆ ตนใช้มาก่อนและใช้ได้ผลจริงๆ